การจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติที่มีผลต่อความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมติที่มีต่อความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านซำมูลนาก อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ แบบทดสอบการสนทนาในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษจากการแสดงบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติที่มีต่อความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 74.43/75.91 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติมีคะแนนความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 75.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้า อิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐสุดา สุภารัตน์. (2562). ความสามารถในการพูดภาษาญี่ปุ่นและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-204.
นิธินันท์ ชารีชุม. (2563). กิจกรรมบทบาทสมมติกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนนายสิบตำรวจ. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 4(1).
โรงเรียนบ้านซำมูลนาก. (2565). ผลการทดสอบ คะแนน O- net โรงเรียนบ้านซำมูลนาก. ชัยภูมิ: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านซำมูลนาก.
ศศิภา ไชยวงศ์. (2553). การใช้การสอนแบบชักชวนร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเพิ่มพูน การ ฟัง พูด ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและลดความวิตกกังวลของนักเรียนในชมรม มัคคุเทศก์น้อย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียง: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพิชญา พูนลาภ. (2562). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้บทบาทสสมติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัสมา ทรรศนะมีลาภ และทูน่า เกอร์กิน. (2563). ศึกษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อลดความกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะ ภาษาต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,3(2), 1.
อาชวิน นิสสัยกล้า. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
Dela, O., wulandari, W. and Yana, Y. (2019). The use of role play to improve students’ speaking skill. Professional Journal of English Education, 2(3), 416-420.
Dewey, J. (1922). Human nature and conduct: An introduction to social psychology. Henry Holt and Company.
Doni, S., Ari, W. and Muhlasin. (2019). Improving Students’ Speaking Ability by Using Role Play. Universitas Pendidikan Muhammadiyah Sorong.
Fifa Lestari and Fitri Andini Sridatun. (2020). An analysis of student speaking skill using role play method. Professional journal of English education, 3(1), 1.
Juhana, J. (2012). Psychological factors that hinder students from speaking in English class.Journal of Education and Practice, 3(12),100-110.
Ments, V. M. (1986). The Effective Use of Role Play: Practical Techniques for Improving Larning. London, Kogan Page.