การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นพวรรณ ทะวะลัย
ไชยยศ เรืองสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) ศึกษาผลการใช้บทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น 1) ศึกษาผลความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียน จากการใช้บทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางเรียน ก่อนและหลังเรียน จากการใช้บทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. บทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. แบบวัดความคิดสร้างสรรค์เป็นแบบปรนัย จำนวน 4 ข้อ 3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบอัตนัย จำนวน 20 ข้อ 4. แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Pair-Samplet-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามหลักการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (OLEs) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 76.33/80.30 และ 0.691
2. ผลการใช้บทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sukon Sinthapanon. (2015). Learning Management of New Age Teachers to Improve 21st Century Learning Skills. Bangkok : 9119 limited partnership Printing Techniques.

Tuang Anthachai. (2016). Thai Education Direction. https://www.cpw.ac.th/CPW_Document/knowledge-147201721320160824134013.pdf. 9 มิถุนายน 2017.

Anan Luankeaw. (2016). Thai Education Direction. https://www.cpw.ac.th/CPW_Document/knowledge-147201721320160824134013.pdf. 9 มิถุนายน 2017.

Khemanat Mingsiritham. (2016). Creative Media Design.Bangkok : Printing of Chulalongkorn University.

Nipada Dewakul. (2013). Creativity. https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson1/creative_thinking.html. 9 September 2016.

Ministry of Education. (2012). National Education Act 1999. Bangkok : Printing House of Teachers, Ladprao.

Office of Academic and Educational Standards.(2009). Mathematics Group Learning, Core Curriculum Basic Education 2008. Bangkok : Printing House of Teachers, Ladprao.

Nonglak Sudmee. (2008). Mathematical creativity (1): Exercises think the opposite Practice. https://www.gotoknow.org/posts/240759. 21December2016.

Division of Evaluation and Evaluation of Educational Management.(2016). Report the results of the national basic education test (O-NET) . Secondary Education Area Office 27. Ministry of Education.

Suwit Moonkham and Arrathai Moonkham.2002. 19 ways for learning : To develop knowledge and skills. Bangkok.

Chaiyod Ruengsuwan. (2012). Designing, Developing lesson plans and web-based tutorials. 16th ed. Department of Educational Technology and Communication, Faculty of Education : Mahasarakrm University.

Sumalee Chaijaroen. (2011). Educational Technology: Principle, Theories to Practice. Khon Kaen : Klungnanawittaya.

Jenrob Krotha. (2014). Design and Development of Open Learning Environments (OLEs) to Enhance the Problem Solving Thinking on the Topic of Computer Networking for Mathayom 4 students, Demonstration School, Khon Kaen University, Secondary school (Education). Khon Kaen University: Khon Kaen University.

Orkesem Jansamud. (2014).The Development of a Web-based Integrated Lesson on the topic of Preliminary environmental and natural resource management to Enhance the learning Achievement and Critical Thinking for Undergraduate Students with Different Self-learning Characteristics. Master of Education Thesis : Mahasarakrm university.

Alissara Philawan. (2017). Results of learningby Discovered Web Lesson and Content Review which effecting to Ability to Solve Problems on the topic of Sound and Hearing for Grade 5 Students. Master of Education Thesis : Mahasarakrm university.

Choosit Tinbut and Paisan Suwannoi. (2014). The Development of a Web-based Constructivist Learning Environments Model to Enhance Analytical Thinking Ability in Science Learning of Primary Students. Journal of Education Graduate Studies Research, Khonkaen University, 8 (1). 105–112.

Juthathip Klangpraphan. (2015). Learning Results with Web Lessons of Constructivist Learning effecting to Learning Achievement and Critical Thinking on the topic of Asean Community for Grade 6Students. Master of Education Thesis :Mahasarakrm university.