การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล

Main Article Content

เทพสุดา แพงจันทร์ศรี
จำเนียร พลหาญ
กมล ตราชู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จากการสร้างและพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) สร้างเกณฑ์การประเมินและแบบประเมินภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ระยะที่ 2 ทดสอบและยืนยันความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (Mplus) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จำนวน 500 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .944 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 และระยะที่ 3 สร้างเกณฑ์ การประเมินและแบบประเมินภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล โดยจัดการประชุมสนทนากลุ่ม ได้เกณฑ์การประเมินและแบบประเมินภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล พบว่า มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ มีองค์ประกอบย่อย 11 องค์ประกอบ และมีตัวบ่งชี้ 55 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักด้านพฤติกรรมเชิงวิสัยทัศน์ มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 25 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านคุณลักษณะเชิงวิสัยทัศน์ มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ มีตัวบ่งชี้ 15 ตัวบ่งชี้ และ 3) องค์ประกอบหลักด้านการสร้างวัฒนธรรมเชิงวิสัยทัศน์ มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ 15 ตัวบ่งชี้ โดยพบว่า องค์ประกอบหลักที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุด คือ องค์ประกอบหลักด้านพฤติกรรมเชิงวิสัยทัศน์
2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จากการสร้างและพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ค่าสถิติ ค่า Chi-Square = 17.018, ค่า Df = 15, ค่า P = 0.3178, ค่า Cfi = 1.000, ค่า Tli = 0.999, ค่า Srmr = 0.008 และ ค่า Rmsea = 0.015
3. ผลการสร้างเกณฑ์การประเมินและแบบประเมินภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล มีความเหมาะสมในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Royal Academy. (2011).Dictionaryof Royal Academy2011, Commemoration of His Majesty the KingOn the occasion of the 7th Anniversary of HM The King, 5 December2011.Bangkok : Royal Academy.

Paitoon Sinlarat. (2010). Creative and productiveLeader : New paradigms and New Leaders in Education.Bangkok : Chulalongkorn University.

Office of the Basic Education Commission(2013).Guide for School Administration in Development Projects of Corporate Identity Management.Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand

Nikhom Nak-Ai. (2006). The Factors of E-Leadership Characteristics and Factors Affecting Leadership Effectiveness for Basic Education Principals. Journal of Education, 18 (2) November 2006-March 2007

Samrit Kangpheng and Prayuth Chusorn. (2014). Global Leadership : Concept and Research.Mahasarakham :Apichart Printing.

Office of the Education Council.Thai Education Situation in the World Stage in 2014.Bangkok : Prikhwarn Graphic,

Bunchom Srisa-ard. (2002).Preliminary research : New Update Volume. 7th Ed. Bangkok : Suveeriyasarn.

Wiersma, W. (1995).Research Methods In Education: An Introduction. Boston: Allyn And Bacon.

นงลักษณ์วิรัชชัย และคณะ.(2008). Survey and Synthesis of Moral Indicators : Research Report One in Four of Research Program on Development of Moral Indicators: Development and Evolution. Bangkok : Moral Promotion Center (Public Organization): Office of Knowledge Management and Development (Public Organization).

Suchart Prasith-rathsint and kannika Sukkasem.(2004). Qualitative Research Methodology : Current problems research and Frontier Research.Bangkok : Sarmlada.

Sucha Janhom. (1984). Psychological Counseling. Bangkok : Aksornbuddhid.

Reid A. Kisling. (2007). Character For Leadership: The Role Of Personal Characteristics In Effective Leadership Behaviors. School Of Global Leadership & Entrepreneurship In Partial Fulfillment Of The Requirements For The Degree Of Doctor Of Philosophy In Organizational Leadership.Regent University,

Taejo Lim. (2003). Relationships Among Organizational Commitment, Learning Organization Culture, And Job Satisfaction In One Korean Private Organization. In Partial Fulfillment Of The Requirements For The Degree Of Doctor Of Philosophy,University OfMinnesota.

Thongthipha Wiriyaphan. (2003).Strategies for Creating an Outstanding Executive.. Bangkok : Informedia International.

Wirat Sanguanwongwan. (2003). Management and Organizational Behavior. Bangkok : Se-ed Ucation.

Thongkoon Hongsapan. (1988).The Way of the Graduate :Self-Management, Human Management and Work Management. Nakonrachasima: Somboon of Set Printing.

Rungsan Prasertsri. (2001). Leadership. Bangkok : Thanathach Printing.

Pornnob Phukkaphan. (2001). Leadership and Motivation. Bangkok : Jarmjuree Product Printing. [19] Halpin, A.W. & Croft, D.B. (1966).The Organizational Climate Of School. Chicago: The Midwest Administration Center.

Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968).Motivation And Organization Climate. Boston : Harvard University.

Likert. Rensis, R. (1976).New Patterns Of Management. New York: Mcgraw Hill Book.

Shein, Edgar H. (1992). Organizational Culture And Leadership. San Francisco : Jossey-Bass.

Don, Hellriegel, John W. (2001). Slocum And Richard W.Woodman. Organizational Behavior. (9th Ed.). Cincinnati : South-Western College.