การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

จักรพันธุ์ หารวิชา
ประวิทย์ สิมมาทัน
พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้เกณฑ์เมกุยแกนส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1032102 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จำนวน 3 กลุ่ม จำนวน 90 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4) แบบสอบถามความพึงพอใจบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่แตกต่างกัน คือ แบบสูง แบบปานกลาง และแบบต่ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินคุณภาพบทเรียน ได้แยกประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคและกิจกรรม และด้านสื่อการสอน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านละ 3 ท่าน ซึ่งผลการประเมินคุณภาพบทเรียน พบว่า คุณภาพของบทเรียนโดยภาพรวม ทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อย 3 อันดับคือ ด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคและกิจกรรม และด้านสื่อการสอน
2. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกันตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 1.05 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1.00 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษามีความพึงใจต่อบทเรียนบนเว็บแบบปรับเหมาะที่มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kanok Samavardhana, Supot Nitsuwat and Monchai Tianton. (2011). Development of Instructional Model for Improving English Grammatical Writing Skills using Intelligent Think-Pair-Share Strategy”. Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 5(2) : May – August 2011

Kanchit Malaivongs. (1997). IT Perspective. 2nd ed. Bangkok : Se-ed Ucation.

Amornwit Nakonthub. (1998).The Truth of the Earth. Bangkok : J Film Process Co. Ltd.

Jaitip Na-Songkhla. (1999). Teaching through the World Wide Web.. Journal of Education Studies, 27(3) ; 18-28.

Kinshuk; Patel, Ashok; & Russell. David. (2002). Intelligent and Adaptive Systems. In Handbook on Information Technologies for Education and Training. Edited by Heimo H. Adelsberger; Betty Corris; & Jan M. Pawlowski. pp. 79-92. Berlin:Springer.

Brusilovsky P. (1997). Efficient Techniques for Adaptive Hypermedia. Intelligent Hypertext: Advanced Techniques for the World Wide Web. Nicholas C. & Mayfield J. (Eds.), Springer Verlag,12-30.

Jones, V. & Jo. J.H. (2004). Ubiquitous learning environment : An adaptive teachingsystem using ubiquitous technology. In R. Atkinson, C. McBeath, D. Jonas-Dwyer & R. Phillips (Eds), Beyond the comfort zone: Proceedings of the 21st ASCILITE Conference (pp. 468-474). Perth, New Zealand.

Phramaha Somyot Peasa. (2012). A Study and Development of Motivation in Learning Buddhist subject of The Third Level Students, Through Group Activity” Journal of Educational Research, Srinakharinwirot University, 6 (2), 54-60

] Kittisak Sarapheat. (2012). Study Attitudes about Learning Problems on the Subject of Accounting Information System for Students Enrolled the Subject of Accounting Information System, 1st Semester of Academic Year 2012. Master of Business Administration Thesis : Siam University.

Jintana Pornpilaipun.(2012).The relationship between learning behaviors and academic achievement: A case study of students in economics of human resources department. Ramkhamhaeng University.Ramkhamhaeng Research Journal, 17 (1), 40-52.

Woraphot Promsudtayaprot and Sumutthana Klangkarn.(2010). Principles of Health Science Research.6th Ed. : Sarakham Printing-Sarakham Paper.

Weawta Techathaweewan. (2008). The development of an adaptive web-based instruction on Dewey Decimal Classification . Education Technology Journal, 3 (1) : September 2008.

Adirek Nawarat.(2009).Development of Learning Efficiency and Achievement of WBI Lesson on the Subject of Mathematics in Daily Life, Bachelor's Degree, Burapa university, Chanthaburi Information Campusby Using the Thinking Partner Technique. Master of Industry Education Thesis : King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

]Piyaphat Senahuch.(2011).Electronic Learning Media Systemof Adaptable for Lesson Content on the Subject of PHP Languages Programming. Master of Industry Education Thesis: King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

Trat Jodnok and hidaKrismant Wattananarong. (2014).Development of an adaptive learning model with interactions on tablets. Journal of Technical Education Development., 27 (92), 23-31.