บุพปัจจัยการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูในชั้นเรียนรวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
1. ผลจากการวัดระดับคุณภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับคุณภาพครูกระบวนการสอนของครูผู้สอนการใช้สื่อการสอนของครูทัศนคติของครูต่อบรรยากาศในโรงเรียนที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเรียบรวมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ระดับคุณภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ระดับคุณภาพครู กระบวนการสอนของครูผู้สอน การใช้สื่อการสอนของครู ทัศนคติของครูต่อบรรยากาศในโรงเรียนที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเรียนรวมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุกทุกด้าน ด้านที่มีค่ามากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยี
2. ผลจากการหารูปแบบความสัมพันธ์ของคุณภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษคุณภาพครูกระบวนการสอนของครูผู้สอนการใช้สื่อการสอนของครูและทัศนคติของครูต่อบรรยากาศในโรงเรียนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเรียนรวมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ของคุณภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ คุณภาพครู กระบวนการสอนของครูผู้สอน การใช้สื่อการสอนของครูและทัศนคติของครูต่อบรรยากาศในโรงเรียนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเรียนรวมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้รูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในชั้นเรียนรวม
3. ผลการทดลองและประเมินผลรูปแบบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษประกอบด้วย 1) คุณภาพการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย 1.1) ผลเชิงพฤติกรรมด้านการเรียน 1.2) ผลเชิงพฤติกรรมด้านการปฏิบัติงานของนักเรียน 2) คุณภาพกระบวนการสอนของครูผู้สอนประกอบด้วย 2.1) แรงจูงใจของครู 2.2) การสอนภาคทฤษฎี 2.3) การสอนภาคปฏิบัติ 2.4) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) คุณภาพของการใช้สื่อการสอน ประกอบด้วย 3.1) สื่อสิ่งพิมพ์ 3.2) สื่อเทคโนโลยี 3.3) ห้องปฏิบัติการ 4) ทัศนคติของครูต่อบรรยากาศในโรงเรียน 4.1) บรรยากาศในชั้นเรียนของครูผู้สอน 4.2) บรรยากาศในที่ทำงาน 5) คุณภาพครู ประกอบด้วย 5.1) การพัฒนาตนเองของครู 5.2) การศึกษา/อบรม 5.3) ประสบการณ์การสอนของครู 6) การส่งเสริมศักยภาพในการปฏิบัติของครูในชั้นเรียนรวมโดยใช้ Professional Learning Community (PLC) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้น โดยมีการค้นพบความรู้ และวิธีการสอนจากตัวผู้เรียนซึ่งที่เกิดจากการคอยสังเกตอย่างสนใจ ข้อค้นพบที่ได้ การสร้างระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา (PLC)โดยความร่วมมือกันทุกฝ่าย กำหนดเครือข่ายในระดับจังหวัดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษา ได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความชำนาญและทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะการสอนและศักยภาพของผู้เรียนใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายในสถานศึกษาไปสู่เครือข่ายอื่นๆที่มีความสนใจร่วมกัน 7) เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของครู ควรใช้เทคนิคการสอนที่เน้นความเข้าใจ ได้แก่ 7.1) การสอนซ้ำ 7.2) การสอนให้สนุกเป็นการใช้เกมการศึกษา 7.3) การสอนที่เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การใช้สาธารณะสมบัติ ทักษะทางสังคม การใช้เวลาว่าง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Bureau of Special Education Administration. (2008). Guide to Organizing Individual Education Plans. Bangkok : Department of General Education, Ministry of Education
Benja Cholthanon.(2003) Manual of Management of Joint CoursesAccording to Seat Structure(SEAT). Bangkok : Phetha Printing.
Hallahan&Kauftman.(1994). Title, Exceptional Children, University of Virginia: Allyn andBacon.
Ministry of Education. (2009).Core Curriculum Basic Education. Bangkok : Agricultural Cooperatives of Thailand.
Suwimon Wongwanich.(2016). The Classroom Action Research. 18th Ed. Bangkok : Chulalongkorn University
Taylor, D.E.(2008).The influence of climate on student achievement in elementary schools. ashington, DC: The George Washington University.
Violette, J.L.(2002). Immediately clarifying classroom interactions : An examination of teacherimmediacy, Teacher clarity, teachergenderandstudent gender on student affective, cognitive, and behavioral Learning. Lexington,KY: The University of Kentucky.
McNally, J.S. (2005). Teacher-studentRelationships: The Effects of student motives, RelationshipDevelopment, and communication on studentlearning. Kent,OH : Kent State University.
Maneerattana Nonhuaro, Ong-art Naiyapatana, Pawit Erawan. (2014). A Study of an Empowerment Evaluation for Enhancing of Preservice Teacher Competency on Student Learning Assessment. Journal of Education, Naresuan University, 16(3), July-September, 44-57.