รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ลำดวน ดวงคมทา
สัญญา เคณาภูมิ
ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ศึกษาอิทธิพลของสมรรถนะทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 4) สร้างและยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลาง จำนวน 175 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ การวิเคราะห์พหูคูณแบบถดถอยเชิงเส้น และทำการสร้างและยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสัมภาษณ์และการยืนยันผู้เชี่ยวชาญจำนวน 24 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ดังนี้ด้านการสอนงานและการมอบหมายงาน ด้านการสั่งการตามอำนาจหน้าที่ และด้านการมองภาพองค์รวม (2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านการยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านการทำงานเป็นทีมด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและด้านความเป็นผู้นำและการดูแลใต้บังคับบัญชา (3) องค์ประกอบของสมรรถนะทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านการวางกลยุทธ์ภาครัฐด้านการสั่งการตามอำนาจหน้าที่ด้านการดำเนินการเชิงรุกและด้านความเข้าใจองค์กรและระบบราชการโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.704 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลาง ได้ร้อยละ 49.6 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 0.376(4) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย การพัฒนาการวางกลยุทธ์ภาครัฐการพัฒนากระบวนการสั่งการตามอำนาจหน้าที่การพัฒนาการดำเนินการเชิงรุกและ การพัฒนาความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Meksawan, Thippawadee. (1995) . Promoting Efficiency in Government Agencies. Bangkok : Office of the Civil Service Commission, page 2.

Darnthamrongkul, Witthaya. (2003). Administration. Bangkok : Enward Education.

Sakworawit, Arnon. (2004) . Competency Concept : The old story we still lost. Chulalongkorn Review. 16 (July-September) :57 – 72.

Ulrich, D. (1998) .Intellectual capital = Competence x Commitment. Sloan Management Review, 39 (2), 15-26.

Brewster, C., Farndale, E. and Ommeren, J. (2000). HR Competencies and Professional Standards, WFPMA, Cranfield University, UK.

New Zealand Institute of Management. (2008). Competency Model: A Review of the Literature and the Role of the Employment and Training Administration (ETA). New Zealand Institute of Management

Phoowitthaphan, Arporn. (2005) . Competency Dictionary. 2nd. Bangkok : HR Center Co., Ltd.

Kenaphoom, Sanya. (2014A) . “Research Philosophy: Quantity Quality” Journal of Political Science and Law, Rajabhat Kalasin University, 3 (2) ,49-51.

Kenaphoom, Sanya. (2014B) . Establish the Research Conceptual Framework in Public Administration by the Rational Conceptual thinking. PhetchabunRajabhat Journal, 16 (1), January-June ,1-19.

Kenaphoom, Sanya. (2015) . The research Conceptual Framework Establishment by the Grounded Theory. VRU Research and Development Journal, 10(3), September-December.

Kenaphoom, Sanya. (2014C) . A Creation of a Research Conceptual Framework for Public Administration by Knowledge Management Methodology.Journal of Humanities and Social Sciences, UbonRatchathani University, 5 (2) ,13-32.

Kenaphoom, Sanya. (2014D) . The creating of Quantitative Research Conceptual Framework of Public Administration by Literature Review.UdonthaniRajabhat University Journal of Humanities and Social Science, 3 (1), January-June.

Kenaphoom, Sanya. 2017. Establishment of a Survey Research Conceptual Framework on Management.ASEAN Journal of Management and Innovation (ISSN 2351-0307), 4 (1); January-June.

Joreskog, K.G. andSorbomD. (1998). LISREL 8.20 for Windows. Chicago : Scientific Software International.

Ratchameethammachod, Sukalya. (2001) . Competency: Management Tools are Undeniable. Productivity, 9 (53), November-December, 44-48.

Seangthong, Narongwit (2007). Come to know the Competency. 3rd. Bangkok : SR. Center.

Sap-udom, Prajak. (2007). The Human Resource Development Approach by Competency. Bangkok : Compressed Document Copies.

Inthasura, Pornphit. (2008). Performance of school administrators according to opinion of Government Teacher and Educational Personnelin Schools under the Office of Khon Kaen Educational Service Area. Master of Education Administration Independent Study : Rajabhat Loei University.

Hardwised, Weerachet. (2008). Performance of school administrators under Nong Khai Educational Service Area Office 3. Master of Education Independent Study: Khonkaen University.

Kongkalai, Ratchanee (2010). Factors affecting performance of Secretaryof Sub-district Administration Organization in Uthaithani Province. Master of Public Administration Thesis, Nakhon Sawan Rajabhat University.

Nillaphat, Puntharika (2015). Performance of Curriculum Managementand Learning Management of Teacher affecting to School Effectiveness, under Office of Nakhon Pathom Primary Education Area Region 1. Journal of Social Research, 6 (2); July-December.

Chomjan, Prakob. (2002). Management Competencyand Role of Educational Quality Developmentof Primary School Executive in East Coast Area. Master of Education Thesis ; Burapa university

Pukkarana, Phattharaphinya (2011). The Administrative Core Competencies Of School Administrators Affecting Effectiveness Of Total Quality Management In Basic Education Schools Under The Office Of Mahasarakham Elementary Educational Service Area 2 . Master of Education Thesis ; Khonkaen University.

Chinnamphong, Bunlu (2012). Competency of School Administrators Affecting the Schools Effectiveness under. Khon Kaen Provincial Administrative Organization. Journal of Education, Graduate Research, 7(1): January–March.