การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี รายงานการวิจัย สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยการใช้เทคนิคการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา ประเมินรูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนเตรียมการประเมิน ขั้นดำเนินการประเมิน ขั้นสรุปรายงานผลการประเมิน และขั้นสะท้อนผลการประเมิน มี 4 องค์ประกอบ 55 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนประกอบได้แก่ หลักการและเหตุผล เป้าหมาย สิ่งที่มุ่งประเมิน เกณฑ์การประเมิน และแนวทางการนำไปใช้ของรูปแบบการประเมินฯ มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน “ผ่าน” การประเมินภายนอกรอบ 3 มีคุณภาพระดับเกียรติคุณ มีระดับคุณภาพสูงกว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน “ไม่ผ่าน” การประเมินภายนอกรอบ 3 มีคุณภาพระดับเชี่ยวชาญพิเศษ และรูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา มีความเที่ยงตรง สามารถจำแนกคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนผ่านการประเมินภายนอกรอบ 3 และไม่ผ่านการประเมินภายนอกรอบ 3 ได้อย่างชัดเจน
4. ผลการประเมินรูปแบบการประเมินคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Ministry of Education. (2009). Operational Guidelines of Participation in Educational Management. Bangkok : Teachers Council.
Wittayakorn Chiengkul. (2004). Describe modern management terminology. 2nd Ed. . Bangkok :Saitharn.
Somsak Donprasit. (2006). Competency of Teachers and Educational Administrators. Thailand Education Journal. :10-13.
Ratana Buason. (1997). Project Evaluation: Evaluation Research. 2nd Ed. Bangkok :Ton-or Grammy.
Nisada Wedchayanon. (2008). New Dimension in Human Capital Management. Bangkok : Graphic Sysment Co. Ltd.
Suwimon Wongwanichand Nongram Sahapanich.(2001). Education Quality Assurance in Course Materials of Evaluation and Evaluation Projects Management Unit 6-10. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.
Sirichai Kanjanawasee. (2009).Evaluation Theories. 7th Ed.Bangkok : Chulalongkorn University.
Songsak Phusee-Orn. (2004). A Development of the Evaluation Model for External Evaluator Quality Education. Journal of Education Measurement, Mahasarakham University, 9, July.