กระบวนการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์บนความท้าทายในสังคมยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วการดำเนินธุรกิจบนความท้าทายในสังคมยุค 4.0 จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวและพัฒนาทักษะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านทรัพยากรมนุษย์ และจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและงานหลายประเภท ที่กำลังจะถูกแทนที่ การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการรองรับการเปลี่ยนแปลง คือ การตระหนักถึงการเตรียมทรัพยากรมนุษย์บนความท้าทายในสังคม ยุค 4.0 ในด้านทักษะที่เหมาะสม ฐานองค์ความรู้ การใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นนั้นกระบวนการวางแผนจึงมีความจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญที่นำมาประกอบในการ วางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์บนความท้าทายในสังคมยุค 4.0 โดยผ่านกระบวนการวางแผน 3 กระบวนการ คือ 1) การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ 2) การนำแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติ และ 3) การควบคุมและประเมินผลด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้เป็นกรอบ ในการดำเนินการและขับเคลื่อนแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ทำให้สามารถวางแผนพัฒนาการใช้ ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างมีระบบ มีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องมีการป้องกันการขาดความมั่นคงทางด้านทรัพยากรมนุษย์มีความพร้อมและสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆซึ่งถือว่ากระบวนการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเข้าสู่สังคมยุค 4.0 ได้ในอนาคตต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร. องค์กรและการบริหาร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สำนักโฆษกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). วารสารไทยคู่ฟ้าเล่มที่ 33 (มกราคม-มีนาคม 2560).
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุพงศ์ กุดสุดา และกฤษฎา เรืองพุธ. (2562). การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจกรณีศึกษาหมี่โบราณพัทลุง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล. (2562). สัมมนา Futurising Thailand สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก (ครั้งที่ 1) โลกใหม่ความ ท้าทายใหม่ยกระดับประเทศไทยในโลก 4.0. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.). สืบค้นจาก https://www.the101.world/futurisingthailand-seminar-2/. (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566)
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย. (2562). ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน). สัมมนา Futurising Thailand สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก (ครั้งที่ 1) โลกใหม่ความท้าทายใหม่ยกระดับประเทศไทยในโลก 4.0. สืบค้นจาก https://www.the101.world/futurising-thailand-seminar-2. (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th.
ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ยุค 4.0. สาขาวิชาการจัดการ: คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเกริก. (วันที่สืบค้น ข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2566)
มาริษ หัสชู. (2563). การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า. สำหรับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการสินค้าโอทอป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยบุตร จารุเพ็ญ. (2564). กรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด.ประชุม วิชาการและ นิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2564 หัวข้อ “กุญแจสู่การสร้างกำลังคนยุค 4.0. สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/ (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566).
ศิวพร วิยะวงศ์. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานและขับเคลื่อนด้วยศักยภาพของบุคลากรเป็นสำคัญ. นครปฐม: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พลวศิษฐ หล้ากาศ. (2564). ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), (เมษายน-มิถุนายน 2564).
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2564). บทความองค์ประกอบ 7 ประการภายในองค์กร. สารานุกรมการบริหารและการจัดการ. สืบค้นจาก https://drpiyanan.com/2021/05/27/7s-modelmckinsey. (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566).
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC). (2563). สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news-article/industry4-humandevelopment.html (วันที่สืบค้น ข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2566).
สารานุกรมเสรี. (2566). วิกิพีเดียการวางแผน.สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/(วันที่สืบค้น ข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2566).
มณีรัตน์ ชัยยะ และเพ็ญศรี ฉิรินังม. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital HR).วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นจาก file:///D:/11.pdf (วันที่สืบค้น ข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2566)
จุฑามาศ วัฒนอาภา. (2566). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
แผนกลยุทธ์กองบริหารงานบุคคล. ประจำปี 2560-2564. สืบค้นจาก https://personnel.rmu.ac.th/. https://personnel.rmu.ac.th/pubs/download/274 (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566).
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2560-2564 ฉบับปรับปรุง 2561. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิกองนโยบายและแผนสำนักงานอธิการบดี สืบค้นจาก https://plan.rmutsb.ac.th/plan/data_information/file/91_PL_787.pdf (สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566).