การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลคทิซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุทธิรัตน์ เฉลิมแสน
อพันตรี พูลพุทธา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา           ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคูณก่อนและหลังเรียน จากการใช้ชุดฝึกทักษะที่เน้นเทคนิค แบบแลททิซ และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อชุดฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโสกนาดี จำนวนนักเรียน 12 คน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซ ชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซ แบบวัดทักษะ การคูณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการคูณโดยใช้เทคนิคแบบแลททิซ มีประสิทธิภาพ 78.26/77.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซ มีทักษะการคูณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะการคูณที่เน้นเทคนิคแบบแลททิซในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จากhttps://www.moe.go.th.

ชนิดา รื่นรมย์ สมคิด อินเทพ และ อรรณพ แก้วขาว. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(83), 111-117.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร. (2556). การจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2553) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศักดา บุญโต. (2543). เวทคณิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). ลําปาง: ศิลปการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คิดเลขเร็วแบบเวทคณิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุไกย๊ะ ลิมาน. (2564). ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 10 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาวัง จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 27-39.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2562). การประเมินภายนอกสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.onesqa.or.th/th/index.php.

อัจฉราลัย ทองดี, ศศิธร จ่างภากร และดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการคูณ โดยใช้วิธีการคูณแลททิสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.rs.mahidol.ac.th.

Rebekawati, A. (2017). The effect of using lattice multiplication technique on achievement of primary school students The purpose of this research was to determine the effectiveness of lattice technique on the achievement of students' multiplication test scores. Retrieved from https://www.atlantis-press.com/ proceedings/aisteel-17/25887402.

Obongon, A. V. (2020). Effects of box teaching or lattice multiplication method on the performance of Mathayomsuksa 3 students of Holy Split International Secondary School in polynomial multiplication. Retrieved from https://www.scholarzest.com.

Annizar, A. M. (2017). The process of student analytical thinking in understanding and applying lattice method to solve mathematical problem. Journal of Physics Conference Series, 1836(1), 1-10.

Foung, D. & Chen, J. (2019). A Learning Analysis Approach for Assessing Online Learning Skills Packages in Hong Kong Universities. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=EJ1215541.