การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

สายใจ เพ็งที
ภูษิต บุญทองเถิง
สมาน เอกพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3) การนำหลักสูตรไปใช้และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบ R&D แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และระยะที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชากรีฑาในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้แก่ ด้านองค์ความรู้ ด้านจัดการเรียนการสอน ด้านบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาผู้เรียนรายวิชากรีฑา และด้านจรรยาบรรณ   ภาพรวมมีความต้องการจำเป็นอยู่ที่ระดับ มากที่สุด


            ผลการนำหลักสูตรไปใช้และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า 1) หลังจากเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศ ในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ภายหลังเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 15 คน และได้นำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนกับครูที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรครูผู้สอนรายวิชากรีฑา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมาก ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การฝึกทักษะปฏิบัติ การวิ่ง การเดิน  การกระโดดไกล การเขย่งก้าวกระโดด การกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การพุ่งแหลน ด้านการวัดประเมิน และด้านคุณลักษะที่ดีของครู ทำให้ผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นเชิงบวกและมีความสุขในการเรียนรายวิชากรีฑา 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนรายวิชากรีฑาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขียน วันทนียตระกูล. (2551). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 จาก http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/Intrinsic_Kh.asp

ธนียา เทียนคำศรี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. รมยสาร, 12(1), 103-113.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). แผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www.trueplookpanya.com/ blog/content/68995/-blog-teamet. 20 มีนาคม 2565.

นเรศ สุนทรชัย. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์. (การค้นคว้า อิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ปรีชา เผือกขวัญดี. (2554). Physical กับครูพลศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 3(2), 193.

พงษ์เอก สุขใส. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. ในรายงานการวิจัย. 1-129. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิพัฒน์ ตันวิบูลย์วงศ์. (2557). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพลศึกษา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสิฐ เมธาภัทร. (2549). การประเมินผลการฝึกอบรมวิทยาการสอนงานปฏิบัติในสถานประกอบการ. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 4(2), 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุเทพ สังข์เพชร. (2536). การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร. จุลสารการศึกษาต่อเนื่อง, 2(3), 14-15.

Chatpan Dusitkul. (2012). Effects of physical education activity management by using group dynamic games on aggressive behaviors of elementary school students. An Online Journal of Education. https://www.edu.chula.ac.th/ojed.

Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.