การพัฒนารูปแบบจัดการสุขภาพชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ฉวีวรรณ เผ่าพันธ์
วัชรินทร์ ทองสีเหลือง
มัณฑนา กลมเกลียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติด 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action research กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ แกนนำ TO BE NUMBER ONE ผู้นำนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยในระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติการณ์การป้องกันยาเสพติดของนักศึกษา พบว่า พฤติกรรมการป้องกันยาเสพติด ของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก  และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การควบคุมตนเอง และทักษะชีวิต ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัว และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ แรงสนับสนุนจากเพื่อนและสถานศึกษา ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดได้ร้อยละ 33.4 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดำเนินงาน ผลของการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 ครั้ง ได้รูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 4 ก (กรรมการ กองทุน กิจกรรม กลยุทธ์)    3 ย บทเรียนแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE คือ ก.กลยุทธ์ RMU TAKASILA ประกอบด้วย R = Reaction การตอบสนองเพื่อการสร้างกระแส M = Modern การจัดกิจกรรมที่ทันสมัย U = Unity  ความสามัคคีในการทำงาน T = Teamwork การทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ถ่ายทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น A = Attitude ทัศคติที่ดี   ในการทำงาน K = Knowledge สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง S = Service Mind  มีจิตใจบริการ I = Innovation สร้างนวัตกรรมที่ทันสมัย  L = Love การทำงานด้วยความรักอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ อุบลไทร, อรอุมา เจริญสุข และสกล วรเจริญศรี. (2561). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของวัยรุ่น การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อนุมาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 2(4), 92-106.คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ฉบับปรับปรุงใหม่ 2560 สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2564 จาก http://www. tobefriend.in.th/dataservice/ds2-manualAndTech.ph.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ และชิดชนก เชิงเชาว์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี, 31(3), 88-103.

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. (2561). สาเหตุและกระบวนการติดยาบ้าในนักศึกษาอาชีวศึกษาศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มทูร พูลสวัสดิ์. (2562). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 1-12.

ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ. (2564). สืบค้นนเมื่อ 24 มี.ค. 2564. จาก https://antidrugnew.moph.go.th/.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). สรุปการดำเนินการด้านการป้องกันยาเสพติด. เอกสารประกอบการประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรุงเทพฯ:สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานเลขาการคณะกรรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. (2564). มาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Ehret, P.J., Ghaidarov, T.M., &LaBrie, J.W. (2013). Can you say no? Examining the relationship between drinking refusal self-efficacy and protective behavior strategy use on alcohol outcomes. Addictive Behaviors, 38(4),1898-1904.

Green, L., & Kreuter, M. (2005) Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach (4 ed.). New York: McGraw-Hill

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Kumpfer, K.L., & Turner, C.W. (1990). The social ecology model of adolescent substance abuse: Implications for prevention’s International Journal of the Addictions, 25(4A),435-463.

Oh,H.&Kim, Y.(2014). Drinking behavior and drinking refusal self-efficacy in Korean college tudents. Psychological Reports, 115(3),872-883.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2021). World Drug Report. [Internet]. 2021 Feb 18]. Available from https://www.unodc.org/wdr2021/.