การพัฒนาโปรแกรมการฝึกความสามารถในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการ

Main Article Content

สมฤทัย พืชสิงห์
อัจฉริยา พรมท้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโปรแกรมการฝึกความสามารถในการเดินและการทรงท่าสำหรับเด็กสมองพิการ 2) พัฒนาโปรแกรมการฝึกความสามารถในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึก กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กสมองพิการ อายุ 5-12 ปี จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากการคัดกรองที่มีระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหวตามเกณฑ์ (GMFCS-E&R) อยู่ในระดับ 2 และ 3 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) คู่มือโปรแกรมการฝึก 3) แบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม 4) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) 5) แบบทดสอบการเดินและการทรงท่า ได้แก่ 1. การทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (GMFM-88) ในท่ายืน ท่าเดิน วิ่ง กระโดด 2. การทดสอบการทรงท่าแบบเคลื่อนไหว (mTUG) 3. การทดสอบความทนทานในการเดิน (1MWT) 4. การทดสอบความเร็วในการเดิน (10 MWT) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาโปรแกรมการฝึกความสามารถในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1.1 การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อการอบอุ่นร่างกาย 1.2 การออกกำลังกายเพื่อความทนทานของหัวใจและปอด (การฝึกเดินบนสายพานเลื่อน) 1.3 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง (การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ และการเดินขึ้น-ลงบันไดราวไม้) 1.4 การฝึกสมดุลผ่านกิจกรรม (การยืนโยนรับส่งลูกบอล หรือการเดินก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง) และ 1.5 การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อการผ่อนคลาย ตามลำดับ ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 60 นาทีต่อครั้ง 3 -5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ 2) โปรแกรมการฝึกความสามารถ ในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการ ในส่วนของรายละเอียดกิจกรรมของโปรแกรม พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.75, S.D. = 0.37) 3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเดินและการทรงท่า สำหรับเด็กสมองพิการ พบว่าความสามารถ ในการเดินและการทรงท่า ได้แก่ การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การทรงท่าแบบเคลื่อนไหว ความทนทานในการเดิน และความเร็ว ในการเดิน หลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรี ต้นเชื้อ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษา ในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ-ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิตรลดา ประเสริฐนู, วิไลวรรณ มิ่งสกุล, วรรณิศา คุ้มบ้าน,สุกัลยา อมตฉายา และวัณทนา ศิริธราธิวัตร. (2555). ความทนทานของร่างกายหลังจากโปรแกรมการเดินในเด็กวัยรุ่นพิการทางกาย.ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(1), 14-19.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน และคณะ. (2562). ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงานในการเดินในเด็กสมองพิการประเภท Spastic diplegia.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 1-14.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน และนงนุช ล่วงพ้น. (2564). การจัดการทางกายภาพบำบัดในภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(4), 120-131.

นคร วรารัตน์, วุฒิการ เขมะวิชานุรัตน์ และสุกฤชชา มณีวรรณ. (2562). การสร้างเครื่องมือช่วยฟื้นฟูเด็กสมองพิการแขนขาอ่อนแรงและมีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.

นงนุช ล่วงพ้น และชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน. (2565). กายภาพบำบัดในเด็กสมองพิการที่มีรูปแบบการเดินแบบเคราช์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 152-165.

ปัทมาวดี พาราศิลป์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, จิตลดา ประเสริฐนู และพรรณี ปึงสุวรรณ. (2554, กันยายน-ธันวาคม). ประสิทธิผลของการผสมผสานการฝึกออกำลังกายแบบความทนทานและแข็งแรงต่อการทำหน้าที่เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และขึ้น-ลงบันไดในเด็กสมองพิการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 23(3), 304-315.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1-13.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8).มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ศิริพร ละม่อมอาภรณ์. (2556, มกราคม-เมษายน). ผลการฝึกเดินบนสายพานเลื่อนในเด็กสมองพิการ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 19(1), 1-15.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา).

Malone, A., Kiernan, D., French, H., Saunders, V., & O’Brien, T. (2016). Obstacle Crossing During Gait in Children With Cerebral Palsy: Cross-Sectional Study With Kinematic Analysis of Dynamic Balance and Trunk Control. Physical Therapy, 96(8), 1208-1215.

Aviram, R., Harries, N., Namourah, I., Amro, A., & Haim, S. B. (2016). Effects of a group circuit progressive resistance training program compared with a treadmill training program for adolescents with cerebral palsy. Dev Neurorehabil, 20(6), 347-354.

Bahrami, F., Noorizadeh, D. SH., & Dadgoo, M. (2019, Autumn). The Efficacy of Treadmill Training on Walking and Quality of Life of Adults with Spastic Cerebral Palsy: A Randomized Controlled Trial. Iran J Child Neurol, 13(4), 121-133.

Ferrari, A., & Cioni, G. (2010). The Spastic Forms of Cerebral Palsy, A Guide to the Assessment of Adaptive Functions. Italy: Arti Grafiche Nidasio, Assago (MI).

Gjesdal, B. E., Jahnsen, R., Morgan, P., Opheim, A., & Mæland, S. (2020). Walking through life with cerebral palsy: reflections on daily walking by adults with cerebral palsy. International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being, 15(1), 1748-2631.

Hoffman, R. M., Corr, B. B., Stuberg, W. A., Arpin D. J., & Kurz, M. J. (2018, February). Changes in lower extremity strength may be related to the walking speed improvements in children with cerebral palsy after gait training. Research in Developmental Disabilities, 73(1), 14-20.

Kumar, C., & Ostwal, P. (2016). “Comparison between Task-Oriented Training And Proprioceptive Neuromuscular Facilitation Exercises on Lower Extremity Function in Cerebral Palsy-A Randomized Clinical Trial”. Journal of Novel Physiotherapies, 6(3), 291.

O’Shea, T. M. (2008). Diagnosis, Treatment, and Prevention of Cerebral Palsy in Near Term/Term Infants. Clin Obstet Gynecol, 51(4), 816-828.doi:10.1097/GRF.0b013e3181870ba7

Peungsuwan, P., Parasin, P., Siritaratiwat, W., Prasertnu, J., & Yamauchi, J. (2017, Jan). Effects of Combined Exercise Training on Functional Performance in Children With Cerebral Palsy: A Randomized-Controlled Study. Pediatr Phys Ther, 29(1), 39-46.

Reddy, S., & Balaji, G. K. (2020). Dynamic Surface Exercise Training in Improving Trunk Control and Gross Motor Functions among Children with Quadriplegic Cerebral Palsy: A Single Center, Randomized Controlled Trial. J Pediatr Neurosci, 15(3), 214-219.