ผลของการฝึกโปรแกรม PSAQ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความแม่นยำในการรุกหน้าตาข่ายของนักกีฬาเซปักตะกร้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกโปรแกรม PSAQ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย และความแม่นยำในการรุกหน้าตาข่ายของนักกีฬาเซปักตะกร้อของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8เป็นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาเซปักตะกร้อ โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทำการทดลองโดยใช้โปรแกรม PSAQ จำนวน 8 โปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ (Independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความแตกต่างของ พลังกล้ามเนื้อ (Power) ความเร็ว (S = Speed) ความคล่องแคล่วว่องไว (A = Agility) ความรวดเร็วในการก้าวเท้า (Quickness) จากโปรแกรมการฝึกที่แตกต่างกัน ของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองก่อนการฝึกไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม มีพลังกล้ามเนื้อ (Power) ความเร็ว (S = Speed) ความคล่องแคล่วว่องไว (A = Agility) ความรวดเร็วในการก้าวเท้า (Quickness) ดีขึ้น โดยจะสังเกตเห็นว่าในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 2. เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเซปักตะกร้อภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า พลังกล้ามเนื้อ (Power) ความเร็ว (S = Speed) ความคล่องแคล่วว่องไว (A = Agility) ความรวดเร็วในการก้าวเท้า (Quickness) ก่อนการฝึกไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พลังกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไว และความรวดเร็วในการก้าวเท้า และเมื่อเปรียบเทียบความแม่นยำในการรุกหน้าตาข่ายของนักกีฬาเซปักตะกร้อ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก พบว่ามีความแม่นยำในการรุกหน้าตาข่ายไม่แตกต่างกัน และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีความแม่นยำในการรุกหน้าตาข่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กมล ตันกิมหงษ์. (2563). โค้ชเซปักตะกร้อแชมป์โลตลอดกาล. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/HTlJ6
ชยกร พาลสิงห์ (2555). ผลของการให้คำแนะนำการออกกลังกาย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อสัดส่วนร่างกายในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 1(1), 16.
ณัฐพล มาฬมงคลเสน (2550). ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความแม่นยำในการยิงลูกโทษ ณ จุดเตะโทษของนักกีฬาฟุตบอล.(ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา).โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา.
ประเสริฐ ชมมอญ. (2561). การศึกษารูปแบบการฝึก SSAQP ที่มีต่อประสิทธิภาพการรุกหน้าตาข่าย (การฝาด) เฉพาะตำแหน่งตัวทำของนักกีฬาเซปักตะกร้อ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2561.
พัชรี ทองคำพานิช. (2552). ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายหนักสลับเบาแบบสถานีที่มีต่อองค์ประกอบ ของร่างกายในนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(1), 89.
มุรธา นามพลกรัง. (2563). ผลของการฝึกโปรแกรม เอส คิว ที่มีผลต่อความเร็ว ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 17(2), 33-35.
ศักยภาพ บุญบาล. (2546). ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความแม่นยำ ในการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุเมธ พรหมอินทร์ และ ดารณี กาญจนสุวรรณ. (2560). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักกีฬาเซปักตะกร้อเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 23. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 43(1), 262-276.
สุพจน์ ปราณี. (2539). คู่มือการฝึกสอนกีฬาเซปักตะกร้อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.