การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ณัฏฐธิดา พิณรัตน์
สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ควบคู่การใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือส่งผลที่มีคุณค่าตามกรอบของหลักสูตรสำหรับผู้เรียน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดผลการคิดวิเคราะห์และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย gif.latex?\bar{X} ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และการทดสอบด้วย Dependent Sampling t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือค่าความเหมาะสมที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่เท่ากับ 4.79 แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ ระดับมากที่สุด 2) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.55, S.D. = 0.14)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกองวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กรมวิชาการ. (2543). การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กรมวิชาการ. (2541). การฝึกเหตุผลจริยธรรม: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาทางหนังสือกรมวิชาการ.

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับ พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554-2556. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาไทย: แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัณฑพร กากแก้ว. (2542). ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อห้องสมุดประชาชนอำเภอ สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนร้อยเอ็ด.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนชม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จรรยา เปรมมณี. (2540). ผลการสอนคณิตศาสตร์ตามรูปแบบ เอส ที เอ ดี ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.