การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน วิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะ การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหว ขั้นพื้นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.22/80.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหญ่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารครุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
ธีรพงศ์ เจริญนาค, พิมพา ม่วงศิริธรรม และภาณุ กุศลวงศ์. (2563). ผลของการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อความแม่นยำในการขว้างบอลของเด็กปฐมวัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 73-74.
นิกร จันภิลม, ศตพล กัลยา, ภาสกร เรืองรอง และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2562). เทคโนโลยีการศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 305.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564. จาก http://www.royin.go.th/dictionary/.
ยง ภู่วรวรรณ. (2564). ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564 จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=1&l=6
รัตนาพร กองพลพรหม, สุชิลา สวัสดี, เรืองวัฒน์ ประทุมอ่อน,วันเพ็ญ สุวรรณชัยรบ, นารี อรศรี. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอลโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีศึกษา.วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(4), 875.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560-2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/3j47P.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/TlSDN
Jung Hyun, Ruth Ediger, and Donghun Lee. (2017). Students’ Satisfaction on Their Learning Process in Active Learning and Traditional Classrooms. (International Journal of Teaching and Learning in Higher Education), 29(1). (pp. 108-118).
Kasman Rukun. (2019). Development of Digital Information Management Learning Media Based on Adobe Flash in Grade X of Digital Simulation Subject. สืบค้น เมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/2MzZQ
Nanxi Lu, Tidarat Samanpan. (2022). Study of Learning Achievement and Students’ Satisfaction on the Design Software Operation Using STAD Cooperative Learning Technique for Year 1 Students Majoring in Media Art Design of Chongzuo College. Nakhon Ratchasima College Journal. (Humanities and Social Sciences), 16(3). (pp. 193).
The department of research administration and educational insurance. (2016). Thailand 4.0 model to prosper country to “stability, prosperity, and sustainability”. Retrieved Jan 6, 2024, from http://www.libarts.up.ac.th/v2/ img/Thailand-4.0.pdf[in Thai].