การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ตามแนวคิดของทอแรนซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองเรือวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบอัตนัย 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน (Task Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Description)
ผลการวิจัยพบว่า
คะแนนความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ในด้านคิดคล่องแคล่ว มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 9.97 (S.D.= 3.16) รองลงมาเป็นด้านคิดยืดหยุ่นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.49 (S.D.= 2.88) และด้านคะแนนคิดริเริ่มมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.99 (S.D.= 3.75) ตามลำดับ และความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.745 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521. กรุงเทพฯ:กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
ทิศนา แขมมณีและ คณะ. (2554). วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2554). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการประเมินตามสภาพจริง. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
มะลิวรรณ วีระจิตต์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สถานการณ์ประกอบการอภิปรายระหว่างนักเรียนกับนักเรียนละการสอนตามคู่มือครู สสวท. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุ และผลของความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร.
กุลภัสสร ศิริพรรณ. (2555). การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่นด้วยการวิเคราะห์พหุ ระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ ประสานมิตร.
วิลเลียม. (1970). องค์ประกอบรูปแบบการสอน. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์3 มิติ. คือ มิติด้านเนื้อหา มิติด้านการสอน. ของครูและมิติด้านพฤติกรรม. ผู้เรียน.
สุดาภรณ์ กางปา. (2559). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือสร้างสรรค์ เรื่อง ระบบสมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ภาวินี บุญธิมา. (2553). การจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.