กระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 เพื่อออกแบบกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ 289 โรงเรียน จำนวน 6,090 คนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ระยะที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบของครูต้นแบบ ได้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 980 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของครูต้นแบบในการจัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 จำนวน 52 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.8-1.00 และมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.90 สำหรับระยะที่ 2 การออกแบบกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบและศึกษาผลการพัฒนา ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกดังนี้ เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ เป็นครูพี่เลี้ยงมีประสบการณ์สอนในโรงเรียน 5 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 50 ปีสอนตรงกับสาขาที่วิชาที่สำเร็จการศึกษาเป็นโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จำนวน 7 โรงเรียน ในแต่ละโรงเรียนส่งครูเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนละ 3 คน รวม 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการสนทนากลุ่มครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินการจัดการเรียนรู้ ของครูต้นแบบ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความรู้เนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้ มีจำนวน 22 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะการบูรณาการระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับเนื้อหา มีจำนวน 14 ข้อ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการจัดการเรียนรู้ มีจำนวน 9 ข้อ และองค์ประกอบที่ 4 ทักษะการใช้เทคโนโลยี มีจำนวน 7 ข้อ องค์ประกอบทั้ง 4 องค์กระกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 72.923 ผลออกแบบกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์กระบวนการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่ 1 ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนสะท้อนผลงาน (Reflection)และ ขั้นที่ 5 ขั้นจัดระบบงานของครูต้นแบบสู่การขยายผล (Systematize a job)จากนั้นดำเนินงานรอบที่ 2 เป็นการดำเนินการโดยครูต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การขยายผลให้กับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ผลการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การศึกษา 4.0 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านรวมมีผลการประเมินการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
คุณาพร วรรณศิลป์ และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยรูปแบบผสมผสานเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 25-40, กรกฎาคม-กันยายน.
เฉลิมพร งิ้วกลาง และอำนาจ ชนะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาครูในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 53-64,กรกฎาคม-กันยายน.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการ จัดการเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการเรียนรู้เชิงผลิตภาพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 185-198.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 208-226, กรกฎาคม-กันยายน.
ลภัสรดา จูเมฆา และปกรณ์ ประจันบาน. (2561). พัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 118-128, ตุลาคม-ธันวาคม.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: ส เจริญ การพิมพ์.
สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครู ยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการ เรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Brookfield, S.D. (2005). Discussion as the way of teaching: Tools and techniques for democratic classroom. 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass.
Gallagher, Shelagh A. (1997). Problem-Based Learning: Where did it come from. What does it do, and Where is it going?”. Journal for the Education of the Gifted.
Kemmis , and R. Mc Taggart. (1991). Action and Knowledge: Breaking the Monopoly with Participatory Action Research. New York: Apex.
Zhao Yony. (2012). World Class Learners: Educating Creative and Entrepreneurial Students. California: Corwin.