การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

Main Article Content

สุจิตตรา พันธ์สุวรรณ
อมร มะลาศรี
รัชฎาพร งอยภูธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนแกนนำ จำนวน 199 โรงเรียน รวม 796 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.63 ถึง 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 อยู่ในระดับมาก (μ= 3.57, σ=0.66) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม ได้แก่ 1.1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (μ=3.93, σ=0.86) 1.2) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก (μ=3.81, σ=0.80) 1.3) ด้านการสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาอยู่ในระดับมาก (μ=3.96, σ =0.90) และ 1.4) ด้านการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาอยู่ในระดับมาก (μ=3.99, σ=0.91) 2) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประกอบด้วย 2.1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 2) ประชุมครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สร้างความรู้ความเข้าใจ 3) นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ตามบริบทของสถานศึกษา 2.2) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ประกอบด้วย 1) การนิเทศ กำกับ ติดตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาทั้งภายในและภายนอก 2) วางแผนการนิเทศอย่างมีขั้นตอน มีปฏิทินการนิเทศชัดเจน 3) ใช้แบบนิเทศ กำกับติดตามที่หลากหลายเหมาะสมและประเมินผลตามสภาพจริง 4) นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากการนิเทศไปปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 2.3) ด้านการสรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริต ประกอบด้วย 1) การจัดทำเอกสารหลักฐานที่เป็นปัจจุบัน 2) รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินผล เพื่อรายงานผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนผลตามสภาพจริง 3) รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่ฯ และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 2.4) ด้านการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัญหา วางแผนการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 2) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง 3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยความร่วมมือเพื่อให้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่ปรับปรุงพัฒนานั้นมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: รัฐสภา.

ทองทิพย์ มนตรี และคณะ. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ประจำปี 2558. สงขลา: หาดใหญ่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10)แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปุณฑริก พรชนะวัฒนา. (2562). การบริหารหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร: แนวคิดกระบวนการและการใช้ผลการประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย,สุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550 ก). ประมวลสาระชุดวิชาการนิเทศการสอนในระดับประถมศึกษาหน่วยที่ 1-3. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนา ดวงแก้ว. (2561). การบริหารและพัฒนาหลักสูตร ใน สมจิตรเผื่อนโภคา (บ.ก.), ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). “หลักสูตรสถานศึกษา” สารานุกรมวิชาชีพครู: เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุภาพร พักกระโทก. (2557). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3. (วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2562: กลุ่มนิเทศ ติดตาม วัดและประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564: กลุ่มนิเทศ ติดตาม วัดและประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรุณรัตน์ บุพศิริ. (2554). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนในอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.