การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อภิวัฒน์ โชติมุข
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้อยู่ในระดับดี และ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวนทั้งหมด 33 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง 10 แผน 2. แบบทดสอบความสามารถการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 3. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยา
ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมของความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากแบบทดสอบ อยู่ในระดับดี คือ 3.97 (คะแนนเต็ม 6.00 คะแนน) เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างข้อกล่าวอ้าง เท่ากับ 1.55 คะแนน และสามารถแสดงหลักฐาน คือ 1.25 คะแนน และคะแนนด้านการให้เหตุผล คือ 1.17 คะแนน และผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รัตนพลแสน. (2564). โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สัมภาษณ์, (26 กันยายน 2564).

นันทวัน นันทวนิช. (2557). การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ของ PISA. สสวท, 42(186),40.

พรนภา อาจสว่าง. (2558). การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมีเสมือน เรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report SAR). มหาสารคาม: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การเรียนการวิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ รูปแบบ 5Es (ชุดซีดีรอมประกอบหนังสือ). กรุงเทพฯ: สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 วิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.

สุทธิชาติ เปรมกมล. (2560). ผลของการใช้การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(1), 259-274.

Cengiz, T. (2010). The Effect of the Virtual Laboratory on Students’ Achievement and Attitude in Chemistry International Online. Journal of Educational Sciences, 2 (1), 37-53.

Justi, R., and Gilbert, J. K. (1999). A cause of a historical science teaching: Use of hybrid models. Science Education, 83, 163-77.

Johnstone, A. H. (1993), Introduction, in Wood C. and Sleet R. (ed.), Creative Problem Solving in Chemistry. London: The Royal Society of Chemistry.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA Assessment Results 2018 Reading, Mathematics and Science. Bangkok: Author. (in Thai).

RuizPrimo, M., Li M, Tsai, SP., & Schneider, J. (2010) Testing one premise of scientific inquiry in science classrooms: Examining students' scientific explanations and student learning.J Res Sci Teach, 2010; 47(5), 583-608.

Senol, S., & Ozge, O. (2017). The Effects of 5E Inquiry Learning Activities on Achievement and Attitude toward Chemistry. Journal of Education and Learning.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). PISA Assessment Results 2015. Retrieved May 5, 2019, from https://pisathailand.ipst.ac.th/isbn-9786163627179/The Institute for the Promotion.