ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงทฤษฎีและโมเดลเชิงประจักษ์ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงทฤษฎีกับโมเดลเชิงประจักษ์ของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร 33 คน และครู 467 คน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 500 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เส้นทาง ระยะที่ 3 ตรวจสอบความยืนยันโมเดล โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ แบบตรวจสอบยืนยันโมเดล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหาระยะที่ 4 แนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป
และการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ 2) ผลการตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจาก
การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป และการบริหารงานงบประมาณ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการบริหารงานวิชาการการบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป และการบริหารความปลอดภัยซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาจากค่า CMIN/df เท่ากับ 2.577 ค่า P-Value เท่ากับ 0.108 ค่า GFI เท่ากับ 0.998 ค่า AGFI เท่ากับ 0.969 ค่า RMR เท่ากับ 0.001 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.056 ค่า NFI เท่ากับ 0.999 ค่า IFI เท่ากับ 0.999 ค่า CFI เท่ากับ 0.999 และค่า PNFI เท่ากับ 0.100 สำหรับผลการตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า โมเดลมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 3) แนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาควรดำเนินตามแนวทางการบริหารความปลอดภัย ดังนี้ 3.1) การบริหาร
ความปลอดภัยในการบริหารงานวิชาการ ควรดำเนินการวางแผนงานหลักสูตร จัดการเรียนการสอน นิเทศ การวัดและประเมินผล การวิจัย การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ระบบการประกันคุณภาพ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ และใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีภายในสถานศึกษา 3.2) การบริหารความปลอดภัยในการบริหารงานงบประมาณ ควรดำเนินการจัดหาเสนอของบประมาณ จัดสรรงบประมาณ แผนการใช้จ่าย การระดมทรัพยากร การลงทุนเพื่อการศึกษาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ การเงิน การบัญชี การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานการใช้งบประมาณ 3.3) การบริหารความปลอดภัยในการบริหารงานบุคคล ควรดำเนินการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.4) การบริหารความปลอดภัยในการบริหารงานทั่วไป ควรดำเนินการพัฒนาระบบ เครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ วางแผนการศึกษา จัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา งานธุรการ ดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ระดมทรัพยากรกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์ กาส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กันยารัตน์ แย้มศรีแก้ว. (2558). การบริหารจัดการความร่วมมือของบ้านวัดโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชยาภร สารีรัตน์. (2562). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยวัฒน์ อุทัยแสน. (2555). กลยุทธ์การบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษา และสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรียพล โฉมไสว. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นครชัย ชาญอุไร. (2554). การพัฒนารูปแบบการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนา คุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหลือ: การประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์กร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นภาลักษณ์ รุ่งสุวรรณ. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พยัต วุฒิรงค์. (2563). การจัดการนวัตกรรม ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย กำหอม. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ร้อยเอ็ด: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
วราวุธ ตรีวรรณกุล. (2559). ปัจจัยความสำเร็จที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารโรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน พ.ศ. 2557-2561 “สะท้อนปัญหาและทางออกตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ: 21 Century.
สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบาย จุดเน้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565, จาก http://krukob.com/web/wp-content/uploads/2022/02/แนวทางการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อน-2565.pdf
Hair, Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7 ed). New Jursey Pearson Education, Inc.
Ivancevich, John. M. (2007). Human resource management. New York: McGraw-Hill.
Minudin, O. B. (1987). The role of secondary school principal as perceived by secondary school principal in sabah, Malaysia. Dissertation Abstracts International, 47(2), 2403-A.