การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดกับการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

Main Article Content

สุธิดา สุรวิชัย

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดกับการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนการใช้งานสามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android สามารถใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดได้โดยคิวอาร์ดรอยด์ (QR Droid) และระบบปฏิบัติการ IOS อุปกรณ์ เช่น iPhones, iPad จะมีโปรแกรมอ่านรหัสคิวอาร์โค้ดบน App Store สามารถใช้งานได้ทั้งสองระบบเพียงแค่ทำการสแกนคิวอาร์โค้ดข้อมูลที่ต้องการจะปรากฏให้เห็นในทันทีคิวอาร์โค้ดช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงเนื้อหา บทเรียน บทความ บทสนทนา เอกสาร หนังสือ ตำราเรียน ใบงาน ใบกิจกรรม หรือแบบฝึกหัดต่าง ๆ ได้ คิวอาร์โค้ดเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ด้านครูผู้สอน ช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมการสอน สามารถแก้ปัญหาครูผู้สอนที่มีภาระงานสอนหรืองานอื่น ๆ เป็นจำนวนมากได้ ช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบการสอนได้หลากหลาย เป็นแนวทางในการพัฒนาผลงานทางวิชาการของครูและอาจารย์ ทั้งนี้คิวอาร์โค้ดยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนอันจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยขึ้น  สามารถส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหนังสือเรียน ตำราเรียน หรือเอกสารประกอบการสอนได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมการจัดทำหนังสือหรือตำราในรูปแบบใหม่ ๆ หนังสือเรียนต่อไปจะไม่ใช่แค่หนังสือไว้อ่านเท่านั้น แต่สามารถฟังได้  สามารถให้ความบันเทิงได้ สามารถกลับมาทบทวนหรือฟังบรรยายซ้ำหลาย ๆ ครั้งได้ ซึ่งจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ดี และเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัตตกมล พิศแลงาม. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์โค้ดสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กรุงเทพฯ, 262-272.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2561). ยูบิควีตัสเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ : การออกแบบที่เนั้นผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ โถชัย. (2557). การพัฒนาระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ฐิตินันท์ ขันทอง (2566). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์. วารสารวิชาการ ปชมท., 12(1), 196-204.

ณัฐวุฒิ บุญโรจน์วงค์ และกชกร พระพรตระการ. (2560). ความหลากหลายของคิวอาร์โค้ด. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 117-126.

ดารุณี บุญมา. (2557). การใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลเพื่อเพิ่มความจุให้คิวอาร์โค้ด. (วิทยานิพพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิภาณ กิตตินันทวัตน์. (2563). การประยุกต์ใข้นวัตกรรมคิวอาร์โค้ดเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(3), 91-102.

ประทีป พืชทองหลาง. (2560). ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน และประเมินผลการเรียนรู้ด้วย QR Code ในรายวิชา ศึกษาทั่วไป. วารสาร CRCI, 4(2), 243-249.

นริส วศินานนท์. (2565). ปัญหาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทย. วารสารวิชาการภาษาวัฒนธรรม,9(1), 53-66.

พรรณาภา สิริมงคลสกุล. (2565). ฟัง-พูด-อ่าน-เขียนเรียนจีนกลางฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

ยามีละห์ มะสะแต. (2561). การพัฒนาหนังสือวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง เรียนรู้คอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด.การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561 วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ยะลา, 403-411.

วนัชพร ไกยราช. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย สังเคราะห์ภาพรวม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

Gurhan Durak, E. Emre Ozkeskin and Murat Ataizi. (2016). QR Codes in education and Communication. Turkish Online Journal of Distance Education-TOJDE, 17(2), 42-58.

Wang Tiansong. (2018). ปัญหาการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา 1573107 ภาษาจีนสำหรับการบริการด้านการบิน 4 มหาวิทยาลัยราชภัฎไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารช่อพะยอม, 29(2), 123-138.