การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวิดีโอออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นกีฬาว่ายน้ำ วิชาว่ายน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธิติโดม ยศราวาส
ทิพย์รัตน์ สุริยานุวัตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้เบื้องต้นกีฬาว่ายน้ำ วิชาว่ายน้ำ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้เบื้องต้นกีฬาว่ายน้ำ วิชาว่ายน้ำ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้เบื้องต้นกีฬาว่ายน้ำ วิชาว่ายน้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/9 จำนวน 43 คน โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples)


ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้เบื้องต้นกีฬาว่ายน้ำ วิชาว่ายน้ำ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.83/78.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอออนไลน์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในอยู่ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ ปล่ำปลิว. (2556). การพัฒนาบทเรียนวิดิทัศน์เรื่องการใช้กล้องโทรทัศน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กนกวรรณ นำมา, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลวิดีโอร่วมกับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อดิศร ภัคชลินท์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกรณีศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และนันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2561). การจัดการชั้นเรียน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). เรื่อง การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อ ประกอบการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วาราสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ณัฐพร สุดดี. (2562). ทักษะและเทคนิคการจัดกิจกรรมการ เคลื่อนไหวสำหรับเด็กเล็ก (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชบาพร พิมวัน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณทิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชรพล สอนเจริญ. (2562). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการว่ายน้ำท่าฟรีสไตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ปีการศึกษา 2562 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุวรรณี กันทะปิง. (2562). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนในอำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี และเกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2562). การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนของนิสิตสาขาพลศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19).

กุลิสรา จิตรชญาวณิช เกศราพรรณ และพันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2563). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา วิมลจันทร์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง อัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส. (2559). การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่อง การตรวจ ร่างกาย รายวิชาการประเมินภาวะสุข. (วิทยานิพนธ์.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ตสาหกรรม). ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Washington, DC: ISTE.