การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง ผู้ผลิต ผู้บริโภค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กฤษฎา สีเนหะ
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง ผู้ผลิต ผู้บริโภค ของนักเรียน   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบใช้สมองเป็นฐาน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ (t-test for dependent samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง ผู้ผลิต ผู้บริโภค มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.27/86.75  2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน เรื่อง ผู้ผลิต ผู้บริโภค มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน เรื่อง ผู้ผลิต ผู้บริโภค มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับมาก 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.86, S.D. = 0.31)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2549). การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงาน ของสมองและสร้างพหุปัญญา (MI) ด้วยโครงงาน Brain-based Learning. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ณัฐพล เฟื่องฟุ้ง. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.

นาถศจี สงค์อินทร์. (2550). การใช้ชุดกิจกรรม BBL (Brain-Based Lerning) พัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย. (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริชมน กาลพัฒน์. (2554). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Brain based learning. เชียงใหม่: ข่าวสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุภากร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์เลิฟเพรส.

วิทยากร เชียงกุล. (2548). เรียนลึก รู้ไว ใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุนทรโคตรบรรเทา. (2548). หลักการเรียนรู้โดยเน้นสมองเป็นฐาน (Principles of Brain-based Learning) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวิทย์ มูลคํา. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Diyaddin M. (2017). Brain Based Learning in Science Education in Turkey: Descriptive Content and Meta-analysis of dissertations. Journal of Education and Practice, 9(8), 1735-2222.

Kartikaningtyas V. (2017). Brain based learning with contextual approach to Mathematics achicvement. International Journal of Science and Applied Science: Conference Series, I(2), 2549-4635.