การศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู 3) ศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 54 โรงเรียน จำนวน 333 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามบรรยากาศองค์การ จำนวน 21 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.31-0.68 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 ส่วนแบบสอบถามการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 16 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.45-0.63 และค่าความเชื่อมั่น 0.89 แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อหาแนวทาง การพัฒนาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า 1. บรรยากาศองค์การ ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. บรรยากาศองค์การ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านการสนับสนุน ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านความรับผิดชอบในงานและด้านความผูกพัน ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 65.1 4. แนวทางการพัฒนาบรรยากาศองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ด้านมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 5 ข้อ ด้านการสนับสนุน ประกอบด้วย 5 ข้อ ด้านโครงสร้างองค์การ ประกอบด้วย 5 ข้อ ด้านความรับผิดชอบในงาน ประกอบด้วย 5 ข้อ ในส่วนของด้านความผูกพัน ประกอบด้วย 5 ข้อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กิตติ กสิณธารา. (2561). แนวทางสำหรับผู้บริหารในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก https://www. gotoknow.org/user/kasinthara.
จูลี่ ศรีษะโคตร และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(1), 28-36.
ชลาธร แสงถนอม. (2563). การจัดการความรู้และบรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์ฟิ ลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนัทพงษ์ วังทะพันธ์. (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ดวิษา สังคหะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2556). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). ภาวะผู้นำในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร การศึกษา หน่วยที่ 5-8. นนทบุรี: สุวีริยาสาส์น.
สุเทพ พงศัศรีวัฒน์. (2556). ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ. สืบค้นจาก http://suthep.ricr.ac.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2555). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. สืบค้นจาก https://sesao24.go.th.
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(1), 11-21.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.