ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ปรียา พลายพงษา
อรพรรณ ตู้จินดา
ดวงใจ ชนะสิทธิ์
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 3) ตรวจสอบ  ความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุและข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาส  ทางการศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรม ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์  แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาและข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 510 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 170 คน และครู 340 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 ตรวจสอบและยืนยันโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบและยืนยันโมเดล


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวางแผน การจัดองค์การ การมีส่วนร่วม และการประเมินผล มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน และการควบคุมงานมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการประเมินผล 3) การตรวจสอบและยืนยันโมเดลโมเดล พบว่า การมีส่วนร่วม การจัดองค์การ  การวางแผน การประเมินผล และการควบคุมงาน เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อย่างเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้อง และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2559). โรงเรียนคุณธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.

จันทิรา ทวีพลายนต์. (2558). การจัดการศึกษาแบบคุณธรรมนำความรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,8(2), 162-171.

ชาญชิต ทัพหมี. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 344-358.

นิสัลมียะห์ อิสาเฮาะ. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้.ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, 1928-1937.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิภาพรรณ เนตรอนงค์. (2562). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนกลุ่มศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 2(2), 50-50.

ศิริวรรณ กันศิริ. (2559). การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3, 32-40.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2557). การส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน ราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: อินฟินิท โกลบอลเทรด.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 13(2), 53-67.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Guskey. T.R. (2000). Evaluating professional development. CA: Corwin Press.