การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการอธิบายปรากฏการเชิงวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พงษ์ดนัย ผดุงโชค
นิลรัตน์ โคตะ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนขามเตี้ยพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย และแบบทดสอบสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน          ด้วยสถิติ The Wilcoxon signed- rank test


            ผลวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.80/75.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้คือ 75/75 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบร่างกาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้สืบเสาะร่วมกับเกม มีสมรรถนะการอธิบายปรากฎการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ระบบร่างกาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จุฑารัตน์ บวรสิน. (2530) เอกสารประกอบการอบรมหัวหน้าหมวดเพิ่มพูนกิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการเรื่องเกม. เชียงใหม่: สมาคมผู้บําเพ็ญประโยชน์ แห่งประเทศไทย สาขาเชียงใหม่.

ธรชุดา อาจวงศา. (2560). การพัฒนาทักษะการคํานวณทางวิทยาศาสตร์โดยการใช้เทคนิคเพื่อน คู่คิดผสานกับเทคนิคการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที5เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีการ เทคนิคการสอน 2.กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จํากัด

ผดุงยศ ดวงมาลา. (2530). การสอนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา (ฉบับปรับปรุง). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). คู่มือการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับบชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ศูนย์สอบ. สืบค้นจาก http://www.niets.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จํากัด.

สันติชัย อนุวรชัย. (2559). การพัฒนาความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในหน่วยการเรียนดาราศาสตร์ผ่านกลยุทธ์การเสริม ศักยภาพด้วยผังมโนทัศน์. วารสารศึกษาศาสตร์, 12(2).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง(พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อัจฉรา เปรมปรีดา (2558). ผลของการใช้เกมและการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ประกอบการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติด้านพหุวัฒนธรรม เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน).สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

McNeill, K. L. (2007). The Role of the Teacher in Supporting Students in Writing Scientific Explanations. Paper presented at the annual meeting of the National Association for Research in Science Teaching., New Orleans, LA.