แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไร่สุขสันต์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

Phan Tieu Ny
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไร่สุขสันต์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวของบ้านไร่สุขสันต์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวบ้านไร่สุขสันต์ 3) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านไร่สุขสันต์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเยือนบ้านไร่สุขสันต์ จำนวน 114 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพ ลูกจ้าง หรือพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ภูมิลำเนาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ นักท่องเที่ยว มีความคิดเห็น ด้วยเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรวม อยู่ระดับมาก (equation= 3.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อย 3 ลําดับแรก ดังนี้ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (equation= 3.89) ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก (equation= 3.82) และด้านกิจกรรม  การท่องเที่ยว (equation= 3.81) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยว ดังนี้ จุดประสงค์ในการมาเที่ยวเพื่อความสำราญ/พักผ่อนหย่อนใจ  บุคคลที่ร่วมเดินทางมากับเพื่อนร่วมงาน ช่องทางในการรับข้อมูลทางการท่องเที่ยว Social Media เช่น Facebook, Line, TikTok, Twitter, Youtube ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวครั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท พาหนะในการเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ประเภทของที่พักที่เลือกพัก รีสอร์ต  และจำนวนครั้งในการเดินทางมาท่องเที่ยวหมู่บ้านไร่สุขสันต์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬครั้งแรกนักท่องเที่ยวมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนโดยรวมอยู่ระดับมาก (equation= 4.04) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านอยู่ระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการเรียนรู้ (equation= 4.22) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม (equation= 4.21)  และด้านองค์กรชุมชน (equation= 3.94)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์.(2560).การจัดการการ ท่องเที่ยวโดย ชุมชน.วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2).

ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(1), 30-44.

ศิรวิชญ์ สุประดิษฐ์ และสันติธร ภูริภักดี. (2563). รูปแบบการดําเนินกิจการเพื่อสังคมของการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมสัก ตําบลแหลมสัก อําเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. Humanities, Social Sciences and arts Volume, 12(5).

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2555). แนวคิดการท่องเที่ยว โดยชุมชน. สืบค้นจาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/concept/.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตกจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2).

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก http://www.cbt- i.or.th/

สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. ประวัติความเป็นมา. (2559). สืบค้นจาก https://district.cdd.go.th/muang- buengkan/aboutus

สํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบึงกาฬ. (2564). ข้อมูลจํานวนนักท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://webcache.googleusercontent.com.

สํานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดบึงกาฬ. (2561). บ้านไร่สุขสันต์ หมู่ที่ 9 ตําบลโคกก่อง อําเภอเมืองบึง กาฬ จังหวัดบึงกาฬ.สืบค้นจาก https://buengkan.cdd.go.th/wpcontent/uploads/sites/78/2018/06/QR

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management. 21(1). 97-116.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Tourism western of Australia. (2009). Five A's of Tourism. (online). Retrieved from http:/www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/pdf/Quickstart_five A's of TourismLOW.pdf.