การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

รัชต์กนก เงาปัดชา
ณัฏฐชัย จันทชุม
ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้โรงเรียนของเครือข่ายเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละ และการทดสอบค่า t (One Sample t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมเฉลี่ย 4.89 ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.09/77.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.61,  = 0.16)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตันติกร คมคาย, ทรงศักดิ์ สองสนิท และพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ สนับสนุนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ การจัดการเทคโนโลยี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณพร นามโนรินทร์. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา Educational Research. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน. สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565 จาก https://bit.ly/3u0mRQN.

โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ. (2562). รายงานการประเมินผลของสถานศึกษา. มหาสารคาม: โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ.วันดี ต่อเพ็ง. (2553). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (สารนิพนธ์ กศ.ม.) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (สสวท.)

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

Ahmat Wakit., R. Hadapiningradja Kusumodestoni. (2020). Problem Based Learning with a Scientific Approach with Character in Mathematics Learning. Universitas Islam Nahdlatul Ulama Jepara. Indonesia

Barrows HS. Problem-Based Learning Applied to Medical Education. Rev Ed. Southern Illinois University School of Medicine, Springfield, Illinois, (2000). Duch BJ, Groh SE, Allen DE. The Power of Problem-Based Learning. Stylus Publishing, LLC, Virginia, 2001.

Creswell, J. W. (2007). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches (2nd ed.). Thousand Oaks, Calif.: Sage Publications.

Gallagher, S.A. (1997). Problem-Based Learning: where did it come from, What does It do, and Where is it going?. Journal for the Education of the Gifted, 5(2), 332-362.

Gwendie Camp. (1996). Problem-Based Learning: A Paradigm Shift or a Passing Fad? MEO 1: 2.(online) Available from http://www.Med-Ed Online.

Savery, J. (1994). What is Problem-based learning?: http.//edweb.sdsu.edu/Clirt/learningtree/PBL/PBLadvantages.html.

Wilson, C. E. A. (1991). A Vision of a preferred curriculum for the 21st century: Action research in school administration: http://www.Samford.edu/pbl.

Lisda Fitriana Masitoh., Harina Fitriyani. (2018). Improving students’ mathematics self-efficacy through problem based Learning. Indonesia.

M Maulidiya and E Nurlaelah. (2019). The effect of problem based learning on critical thinking ability in mathematics education. Journal of Physics: Conf, Series.