การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ MACRO Model ร่วมกับการ์ดเกม (Card Game) รายวิชา ง 32101 การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองเรือวิทยา

Main Article Content

ดิเรก กรีเทพ
มณฑา ชุ่มสุคนธ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MACRO Model ร่วมกับการ์ดเกม Card Game โดยนักเรียนร้อยละ 80 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2)ศึกษาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MACRO Modelร่วมกับการ์ดเกม Card Game รายวิชา ง 32101 การงานอาชีพ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ระดับสามารถขึ้นไป และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ MACRO Model ร่วมกับการ์ดเกม Card Game รายวิชา ง 32101 การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองเรือวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบหลังเรียน one-shot case study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ 3)แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


             ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มีจำนวนทั้งหมด 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียน           มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 24.39 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.30 สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม พบว่า นักเรียน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 93.18 ที่ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับสามารถ (9) ขึ้นไป และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.38

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดลชัย อินทรโกสุม และทรงภพ ขุนมธุรส. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอน ดอกสร้อยราพึงในป่าช้าด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดิเรก วรรณเศียร. (2560). แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567. จาก http://regis.dusit.ac.th/images/news/ 1421308421_MACRO/.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2542). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พรนภา แดนนานารถ และมณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2566). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชา ส14101 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิงห์สะอาด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พรพิมล ตรีศาสตร์ และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2566). ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร.

ทิศนา แขมณี. (2551). ศาสตร์ การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัด กระบวน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรภัทร์ ศิริรส และมณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2565). การพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action) ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์ และกนิษฐ์ ศรีเคลือบ. (2566). การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567, จาก https://cbethailand.com.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567, จาก https://cbethailand.com/.

สุภาพร มูฮำหมัด และนิศารัตน์ อิสระมโนรส. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อม สำหรับสถานศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สุรีรัตน์ เนตรทิพย์, พิชญ์สินี ชมภูคำ และวชิรา เครือคำอ้าย. (2564). ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ MACRO Modelเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.

Bloom, B. S., et al. (1956). Toxonomy of Educational Objectives: Cognitive and Affective Domains. New York: David Mckay.