ปัจจัยและการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

Main Article Content

มนัสวิน จิตตานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงการรัฐประหารของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วิธีการศึกษาที่ใช้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร บทความ หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ในช่วงปี พ.ศ. 2475-2480 เยาวชนไทยยังคงถูกครอบงำทางความคิดด้วยระบอบการปกครองแบบเดิมอยู่ จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2481-2487 ได้เกิดกระแสความเป็นชาตินิยมขึ้นภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากนั้น กระแสชาตินิยมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในปี พ.ศ. 2488-2550 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาของประเทศไทย ส่งผลทำให้เกิดกลุ่มหัวก้าวหน้าขึ้น และในปัจจุบันช่วงปี พ.ศ. 2551-2563 ที่กระแสโลกาภิวัตน์และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ มีส่วนสำคัญต่อการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนไทย 2) ในปี พ.ศ. 2475-2480 เยาวชนไทยยังไม่มีการแสดงออกทางการเมือง คณะราษฎรจึงเร่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และเห็นผลได้ชัดเจนในช่วงปี พ.ศ. 2481-2487 ที่รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายชาตินิยม ส่งผลให้เยาวชนไทยเชื่อฟังและดำเนินการที่แสดงออกว่าเป็นความรักชาติ มีการเดินขบวนต่อต้านผู้ที่อยู่นอกกรอบความเป็นไทย และต่อต้านชาวต่างชาติ กระทั่งในปี พ.ศ. 2488-2550 ผลจากอิทธิพล ทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกาต่อประเทศไทยส่งผลให้เกิดกลุ่มหัวก้าวหน้า ที่คัดค้านการดำเนินงานของรัฐบาลไทย มีการชุมนุม และเดินขบวนประท้วงรัฐบาลไทย และนำมาซึ่งการปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาลในที่สุด จนเมื่อผ่านพ้นเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ปี พ.ศ. 2551-2563 เยาวชนไทยได้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นลักษณะสำคัญในการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาในเรื่องการปราบปรามทางการเมือง ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรดำเนินนโยบายการสร้างความเป็นพลเมืองไทยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน รวมถึงมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่เสมอ จะสามารถช่วยลดความขัดแย้งที่จะตามมาได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนชาวไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 253-265.

ณัฐพรพรรณ อุตมา. (ม.ป.ป.). กระแสโลกาภิวัตน์-โลกานิวัฒน์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=1296.

นฤมล นิ่มนวล. (2559). การเมืองในแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2551. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา วังมี. (2543). รัฐไทยกับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนในช่วง พ.ศ. 2475-2487. (อักษรศาสตร มหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) และพระใบฎีกาสุชินนะ อนิญฺชิโต (พรหมนิล). (2563). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน.

พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2560). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่

ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(49), 59-77.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2563). คณะราษฎร 2563. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.the101. world/khana-ratsadon-2563/.

สมชัย แสนภูมี, กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ และพระครูปลัด ณัฐพงศ์ยโส. (2562). นักศึกษากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันครบรอบ 1 ปี การทำรัฐประหารของ พลเอกประยุทธ์

จันทร์โอชา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(1), 1089-1105.

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2564). คณะราษฎรเผยสาเหตุ ‘ปฏิวัติ 2475’ ปฐมบทจากความเสื่อมโทรมของระบอบสมบูรณาฯ. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://www. silpa-mag. com/history/article_49539.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และรัตนาวดี ลำพาย. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย : มูลเหตุ รูปแบบ และผลที่เกิดขึ้นตามมา. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1), 1-18.

อัจฉราภรณ์ มงคลคำ และนรชิต จิรสัทธรรม. (2562). บทวิจารณ์หนังสือประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 97-101.

เอกชัย ภูมิระรื่น และนันทพร รอดผล. (2560). การสร้างพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2501. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1590-1603.

Amnesty International Thailand. (2564). 13 องค์กรระหว่างประเทศแสดงความกังวลเกี่ยวกับสิทธิในการชุมนุมโดยสงบในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.amnesty.or.th/latest/news/949/.

Prachatai. (2562). ขบวนการเสรีไทย…สันติภาพและการปรองดอง เมื่อมองผ่านงานเขียน ดร.วิชิตพงศ์ ณ ป้อมเพชร. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://prachatai.com/ journal/2019/08/84044.

Roman Catholic Archdiocese of Bangkok. (2558). การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.catholic.or.th/main/links-catholic/คุณพ่อนิโคลาส-บุญเกิด-กฤษบํารุง/1387-การเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย.