การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ทวิวรรณ คณะนาม
กันยารัตน์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้นของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้เรียนวิชาภาษาฝรั่งเศสเสริมทักษะ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD วิชาภาษาฝรั่งเศสเสริมทักษะ (ฝ30212) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศส  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คะแนนเต็มรวม 60 คะแนน  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ


ผลจากการวิจัยปรากฎได้ดังนี้ 1) ประสิทธิภาพทางการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 82.23 / 80.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด 2) ความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้นของนักเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (t = 17.33**) 3) คะแนนการทดสอบวัดความสามารถการเขียนภาษาฝรั่งเศสของนักเรียน พบว่าหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 2.5175**) 4) ผลการประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก (equation = 4.35)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงกล สุภวชย์และคณะ. (2556). คู่มือหนังสือเรียน Adosphère 1. กรุงเทพฯ: สมาคมครูฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย

ชลธิชา ทิพย์ดวงตา. (2559). ผลการใช้เพลงภาษาฝรั่งเศสเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนประโยคความเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒโนทัยภายัพ จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน และ เทคโนโลยีการเรียนรู้). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงกมล บุญใชย, พัชริทร์ จูเจริญ และนันทิวัน อินหาดกร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในการ จัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาจีน เรื่อง สัทอักษรภาษาจีน เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วชิราพร ภูริพันธ์ภิญโญ. (15 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์, ครู โรงเรียนสตรีศึกษา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.

วีรยุทธ จันทร์เหลือง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum B.E. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai).

Slavin, E.Robert. (1980). Cooperative Learning. Review of Education Research, 50(summer), 315-342.

Slavin, E.Robert. (1987). Cooperative Learning and Cooperative school. Education Leadership,. 45(November), 7-13.