การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติหน่วยการประดิษฐ์งานใบตองด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สอดคล้องกับสาระการงานอาชีพ ในด้านการมีทักษะปฏิบัติมีประสบการณ์เห็นแนวทางในงานอาชีพ เป็นการพึ่งพาตนเองของผู้เรียน และเป็นการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมถึงความพึงพอใจของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์งานใบตองก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) ศึกษาทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์งานใบตอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์งานใบตองด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์งานใบตองก่อนเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ ของนักเรียนกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์ทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์งานใบตองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ คะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติของนักเรียน กลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียนมีทักษะการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.68) 3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ หน่วยการประดิษฐ์งานใบตองด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยการประดิษฐ์งานใบตองด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560).กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
กลุ่มงานวิชาการ. (2561). รายงานสถิตินักเรียนและข้อมูลนักเรียนประจำปีการศึกษา 2561. สกลนคร: โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์.
ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
จรัสศรี พัวจินดาเนตร. (2560). หลักกิจกรรมพื้นฐานการงานอาชีพสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรูญ เฉลิมทอง. (2559). การวัดและประเมินลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
จารุวรรณ ครองสำราญ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม excel เบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จารุวรรณ สิทธิจันทร์. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิราภรณ์ พรมสืบ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) รายวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สารละลายกรดและเบส. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่านการวิเคราะห์และการเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาญสิปป์ ศิลารัตน์. (2560). การเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ โดยการ จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของเดวีส์ที่มีเว็บสนับสนุนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรบือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรมวงษ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนวารสารศิลปากรศึกษาวิจัย, 5(1), 7-16.
โชติกา ภาษีผล, ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน การบูรณาการการอ่าน การคิด วิเคราะห์และการเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญชนก สท้านพบ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์พานบายศรีปากชามประยุกต์ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองเรือวิทยา. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.), 4(1), 66-75.
นลิณีย์ อูมูดี. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามกับวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นฤมล ภูสิงห์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม.
นาอีม๊ะ ราเซะบิง. (2560). การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนองาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิตยา เต็งประเสริฐ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติชุดระบำไก่วิชาดนตรี- นาฎศิลป์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 13-21.
นิตยา นันตา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งาน Microsoft Publisher ในการสร้างชิ้นงาน โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุปผา กัติยัง. (2556). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะปฏิบัติการทำขนมในท้องถิ่นสงขลาและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์, พันพัชร ปิ่นจินดา และอลงกรณ์ เกิดเนตร. (2560). การจักการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ปนัดดา แสนสิงห์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ประกอบสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร. (2556). การจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประวีณา สันป่าแก้ว. (2559). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนของโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2560). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เฮาส์ออฟ เดอร์มิสท์.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2554). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
พิทยา คงอิ้ว. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดวีส์ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (ภาคใต้). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณนิภา สุขกี้. (2559). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน 3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภารดี อนันต์นาวี. (2556). หลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: พิมพ์มนตรี.
ภูษิต บุญทองเถิง. (2559). การพัฒนาการเรียนการสอน.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มนชนก รัตนจำนงค์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรงผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เยาวดี ศิลปะอนันต์. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง สร้างสรรค์ดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ชัยภูมิ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ.
ลดาวัลย์ ก๊กตระกูล. (2561). ผลการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การสร้างงาน จากโปรแกรมประมวลคํา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณวิษา วงษ์วิจารณ์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ รายวิชานาฏศิลป์ ชุดนาฏยาลีลาบ้านแหลม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดป่าพฤกษ์นาฏศิลป์ศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรากร สุพรรณท้าว. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ทีมีผลต่อทักษะ การปฏิบัติท่ารำและทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(2). 248-264.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรางคณา เวชพูล. (2559). การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาสตร์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). วัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศิราณี กลางประพันธ์. (2561). การพัฒนาคู่มือการสอนทักษะปฏิบัติเดวีส์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างวินัยในตัวเองความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิรินภา โพธิ์ทอง. (2562). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม.
ศิริพร ชัยสาร. (2556). ผลการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ต่อทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมาน เอกพิมพ์. (2561). การจัดการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมและการจัดการชั้นเรียนในคตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
สมาน เอกพิมพ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตระทฤษฎีสู่ปฏิบัติการออกแบบและพัฒนา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
สมจิต จันทร์ฉาย. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
สมปรารถนา ทองนาค. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอล โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2561). การจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สุพัตรา รักชาติ. (2557). ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเควีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อนุพงษ์ ยุรชัย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เพื่อนช่วยเพื่อนประกอบแบบฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องรํามวยโบราณ กลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถวัตร ทิพยเลิศ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการ ปฏิบัติถีตาร์ตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Davies, D. R. (1975). Three-dimensional structure of immunoglobulins. Annual review of biochemistry, 44(1), 50-56.
Laveena Reshmad'sa and S. N. Vijayakumari. (2017). Effect of Kolb's Experiential Learning Strategy on Enhancing Pedagogical Skills of Pre-Service Teachers of Secondary School Level. Journal on School Educational Technology. 13(2), 1-6.