การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคไก่พื้นเมืองในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคไก่พื้นเมืองในจังหวัดพิษณุโลก ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.0) อายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี (ร้อยละ 60.0) สถานภาพโสด (ร้อยละ 50.0) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 50.0) ส่วนใหญ่ทำอาชีพการเกษตร (ร้อยละ 30.0) มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 40.0) ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองที่มีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย (ร้อยละ 30.0) ซื้อไก่พื้นเมือง 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ (ร้อยละ 38.0) ในราคา 100-300 บาท/ครั้ง (ร้อยละ 40.0) โดยซื้อจากร้านจำหน่วยอาหารสดแช่แข็ง (ร้อยละ 48.0) ส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อ ด้วยตัวเอง (ร้อยละ 36.0) เลือกไก่ที่แยกชิ้นส่วนแล้ว (ร้อยละ 38.0) นิยมบริโภคไก่ช่วงอายุ 7-9 เดือน (ร้อยละ 52.0) และบริโภคไก่เพศผู้มากกว่าเพศเมีย (ร้อยละ 52.0) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเพราะความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 42.0) ตัดสินใจซื้อเพราะราคาที่เหมาะสม (ร้อยละ 48.0) ซื้อไก่จากร้านค้าใกล้บ้าน (ร้อยละ 42.0) และส่วนใหญ่ซื้อเพราะมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 36.0) สำหรับข้อมูลทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคไก่พื้นเมือง พบว่าผู้บริโภคมีทัศนคติต่อการบริโภคไก่พื้นเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57 ± 0.52 (ระดับมาก) และมีพฤติกรรมบริโภคไก่พื้นเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.59 ± 0.55 (ระดับมาก)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมปศุสัตว์. (2565). ข้อมูลจำนวนเกษตรกรและปศุสัตว์ในประเทศไทย ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติศูนย์สารสนเทศ.
จรีวรรณ จันทร์คง, ชำนาญ ขวัญสกุล, ณปภัช ช่วยชูหนู, และศรัณญภัส รักศีล. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อเนื้อไก่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช. แก่นเกษตร, ฉบับพิเศษ (1), 631-635.
จรีวรรณ จันทร์คง, ณปภัช ช่วยชูหนู, ประพจน์ มลิวัลย์, และไพศาล กะกุลพิมพ์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการซื้อไก่พื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 40(1), 139-149.
เจนจิรา ขวัญอ่อน. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเนื้อไก่ เขตจังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/355.ru.
ชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์ และคณะ. (2556). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อไก่พื้นเมืองไทย (ชีท่าพระ). แก่นเกษตร, 41 (ฉบับพิเศษ 1); 415-419.
ดรุณี โสภา ชูศักดิ์ และคณะ. (2556). การซื้อและบริโภคไก่ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามและเลย.แก่นเกษตร, 41(1), 410-414.
ทัศน์กร อินทจักร. (2563). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
นิธิโรจน์ อรหันต์กุลบดี และพัชรี สุริยะ. (2563). พฤติกรรมในการเลือกซื้อเนื้อไก่ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร, 48 (ฉบับพิเศษ 1), 705-712.
รัชนีวรรณ วัฒนปริญญา, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(2), 317-333.
ศศิพันธ์ วงศ์สุทธวาส และกรรณิการ์ สมบุญ. (2552). การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ไก่พื้นเมืองหรือลูกผสมพื้นเมืองเชิงพานิชย์ในระดับชุมชนในจังหวัดสกลนคร. (รายงานวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย).
อังคณาภรณ์ พงษ์ด้วง, อำนวย เลี้ยวธารากุล, อภิรักษ์ เพียรมงคล, โปรดปราน ทาเขียว, และสัญชัย จตุรสิทธา. (2556). คุณภาพการบริโภค กลิ่น และรสชาติของเนื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 และไก่กระทง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 30(2), 37-46.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก. (2566). จำนวนประชากรสัตว์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 จาก https://pvlo-phs.dld.go.th/stat/livestockstat.htm.
อำนวย เลี้ยวธารากุล, ชาตรี ประทุม และศิริพันธ์ โมราถบ. (2552). แนวทางสร้างการรับรู้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ในกลุ่มผู้บริโภค. รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อำนวย เลี้ยวธารากุล, ชาตรี ประทุม, สันติ แพ่งเม้า, และอภิรักษ์ เพียรมงคล. (2553). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำเชียงใหม่). แก่นเกษตร, 38 (ฉบับพิเศษ), 410-419.
อุไร แสนคุณท้าว ชัชวาล ประเสริฐ และเกชา นนตา. (2560). การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 จาก https://region4.dld.go.th/webnew/ images/stories/vichakarn/04-2-04-60.pdf.
Cronbach, L. J. (1990). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Tang, H., Gong, Y.Z., Wu, C.X., Jiang, J., Wang, Y., and Li, K. (2009). Variation of meat quality traits among five genotypes of chicken. Poultry Science, 88(10), 2212-2218.