อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์: การศึกษาภาษาเพื่อเข้าถึงระบบปริชานของกลุ่มชนกับข้อสังเกตของวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ การจัดประเภท และการจัดจำพวกแบบชาวบ้านจากงานวิจัยที่ศึกษาคำเรียกญาติ คำเรียกสี การตั้งชื่อนามสกุล และภูมินามในภาษาไทย

Main Article Content

สุวัฒชัย คชเพต
เยาวลักษณ์ พูลผล
สิริยากร บุณกิจโสภณ

บทคัดย่อ

            อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นการศึกษาภาษาและความหมายโดยมีวัตถุประสงค์เข้าถึงระบบความคิดหรือระบบปริชานของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง เพราะรูปภาษาหนึ่ง ๆ จะมีมโนทัศน์ที่แอบแฝงอยู่ในภาษาหรือคำศัพท์ที่ใช้กันภายในแต่ละสังคมและวัฒนธรรมนั้น ในบทความนี้ต้องการสะท้อนให้ทราบถึง 3 ประเด็น คือ 1) ความหมาย ความเป็นมา และหลักการสำคัญของอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย การจัดประเภท และการจัดจำพวกแบบชาวบ้าน 3) ข้อสังเกตจากงานวิจัยที่ศึกษาภาษาไทยตามแนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ จากการนำเสนอประเด็นดังกล่าวจึงทำให้พบว่าการศึกษาอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์จำเป็นต้องอาศัยหลักการสำคัญ ในการวิเคราะห์อยู่ 3 เรื่อง คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย การจัดประเภท และการจัดจำพวกแบบชาวบ้าน ซึ่งการใช้หลักการดังกล่าวส่งผลให้เกิดงานวิจัยที่สนใจศึกษาภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นคำเรียกญาติ คำเรียกสี การตั้งชื่อนามสกุล และที่มาของชื่อสถานที่หรือภูมินามในภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย และจากงานวิจัยจึงทำให้เกิดข้อสังเกตถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษา ที่สามารถนำมาใช้ได้ 4 วิธี เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีวิจัย ประกอบไปด้วย วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย วิธีการวิเคราะห์ความหมาย วิธีการจัดประเภททางความหมาย และวิธีการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้าง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2533). คำเรียกสีในภาษาเย้า (เมี่ยน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ศิริพันธุ์. (2554). คำเรียกสีและทัศนคติที่มีต่อสีของผู้พูดภาษาไทย กะเหรี่ยงโปว์ มอญ และขมุ ในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทนา วงษ์ไทย. (2561). ภาษาและความหมาย. กรุงเทพฯ: เค.ซี.อินเตอร์เพลส.

ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศุภมาส เฉ่งอ้วน. (2537). คำเรียกญาติในภาษาจีนฮกเกี้ยนในภาคใต้ของประเทศไทยและเกาะปีนัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2547). ชื่อหมู่บ้านในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย: กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2533). ลักษณะสำคัญบางประการในวัฒนธรรมไทยที่แสดงโดยคำเรียกญาติ. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 7(1), 55-68.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์, วาทิต พุ่มอยู่ และชุติชล เอมดิษฐ. (2560). การวิเคราะห์คำเรียกข้าวและระบบมโนทัศน์เรื่องข้าวในภาษาเวียดนามและภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. ใน อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ). รวมบทความวิจัยทางภาษาศาสตร์สังคมและภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์, (น. 94-98). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, R. (1958). How shall a thing be called? Psychological Review, 65(1), 14-21.

Croft, W. & Cruse, D. A. (2004). Cognitive Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press.

Cruse, D. A. (2004). Meaning in language: An introduction to semantics and pragmatics (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Fake, C. O. (1980). Language and Cultural Description. Stanford, Calif.: Standford University Press.

Boas, F. (2013). Geographical names of the Kwakiuti Indians. New York: Columbia University Press.

Lakoff, G. (1987). Women, Fire, and Dangerous Thing: What Categories Reveal about the Mind. Chicago: Chicago Press.

Prasithrathsint, A. (2001). A Componential Analysis of Kinship Terms. In M. R. Kalaya Tingsabadh and Arthur Abramson (eds.), Thai: Essays in Tai Linguistics, (p. 261-276). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Rosch, E. (1975). Cognitive representation of semantic categories. Journal of Experimental Psychology: General, 104(3), 192-233.

Rosch, E. (1978). Principles of categorization. In Rosch and Lloyd (eds.), Cognition and Categorization, (p. 27-48.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Rosch, E. & Mervis, C. B. (1975). Family resemblances: Studies in the internal structure of categories. Cognitive Psychology, 7(4), 573-605.

Ungerer, F. & Schmid, H. (1996). An introduction to cognitive linguistics. New York: Longma