ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอเป็นผู้กำกับดูแลเทศบาลในท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงมีอำนาจในการกำกับดูแลเหนือตัวบุคคลซึ่งหมายความรวมถึงตำแหน่งนายกเทศมนตรีด้วยโดยตามหลักการทั่วไปหากบุคคลใดมีอำนาจแต่งตั้งผู้ใดเข้าดำรงตำแหน่งย่อมต้องมีอำนาจในการถอดถอนบุคคลนั้นออกจากตำแหน่งได้แต่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตเทศบาล ทำให้นายกเทศมนตรีจึงไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางและราชส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด จึงทำให้ ในการสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น โดยมาตรา 73 กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนในกรณีที่ปรากฎหลักฐานว่านายกเทศมนตรีจงใจทอดทิ้งหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่สั่งการตามที่กฎหมายกำหนด โดยคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 73/1 จึงเป็นคำสั่งทางปกครองซึ่งต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ซึ่งจากการศึกษาการสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงพบว่ามีปัญหาทางกฎหมายหลายประการดังต่อไปนี้ ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการลงโทษนายกเทศมนตรี ซึ่งจะต้องสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 73/1 เท่านั้น จึงเป็นมาตรการลงโทษเพียงมาตรการเดียวต่างจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งกำหนดให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการกำหนดโทษทางวินัยได้ หรือการที่ไม่ให้สิทธินายกเทศมนตรีมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งทำให้นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งในทันทีหรือในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติวินิจฉัยว่า นายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดตามฐานความผิดผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยแก่นายกเทศมนตรีตามฐานะความผิด ที่คณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก หรือแม้กระทั่งหากมีคำสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามผลการสอบสวน ของคณะกรรมการสอบสวน แต่ต่อมาภายหลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้พิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลดังล่าวไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหานายกไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่านายกเทศมนตรีดังกล่าวจะสามารถร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ดังนั้นจากประเด็นปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขบทกฎหมายเกี่ยวกับการสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ให้มีความเหมาะสมและมีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
เอกสารอ้างอิง
ไกรพล อรัญรัตน์. (2554, 8 พฤษภาคม). ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับมาตรการกำกับดูแลฝ่ายบริหารของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496. เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย. สืบค้นจาก http://www.public-aw.net/publaw/view.aspx?id=1585.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมนันท์. (2552). การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน.
ประเสริฐ จิตติวัฒนพงศ์. (2542). รวมบทความทางวิชาการของ รศ. ประเสริฐ จิตติวัฒนพงศ์ เรื่องญี่ปุ่น: การเมืองและนโยบายต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ธาราฉัตรการพิมพ์.
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 170-173.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 21 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 52 ก. หน้า 2-42.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. (2539, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก. หน้า 2.
พัสตราภรณ์ เหลืองอิงคะสุต. (2560). ปัญหาการออกกฎของกระทรวงมหาดไทยเพื่อกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU Digital Collections. สืบค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5701032251_9047_8992.pdf
มาโนช นามเดช. (2559). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า.
ยุทธพร อิสรชัย. (2565, 4 พฤศจิกายน). การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ. สถาบันพระปกเกล้า. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2541). เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจทำการพิจารณาทางปกครอง. ใน พนม เอี่ยมประยูร (บ.ก.), รวมบทความทางวิชาการทางกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (น. 50). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
วิรัตน์ จันทรพรกิจ. (2545). อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง). NRCT. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/161899.
สกุลกานต์ หนองหาร. (2561). การตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์). สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/306915.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2557). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
สันติชัย สุขราษฎร. (2556). ปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 7(3), 288-298.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2539). ระบบความเป็นอิสระของท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 2(13), 2.
สันติชัย สุขราษฎร์. (2556). ปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). สืบค้นจากhttps://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:100736.
สามารถ ตราชู. (2560). การนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยของศาล(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจากhttps://www.kpi.ac.th/knowledge/research/data/136.
ตรีพงศธร สัตย์เจริญ. (2549, 20 สิงหาคม). การกระทำของรัฐบาลกับการออกพระราชกำหนด. เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย.สืบค้นจาก http://public-law.net/ public/printPublaw.aspx?ID=952
ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. (2556). การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง. เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=1866.
Benjamin, S. B. (2022, March 29). Japan: Local Autonomy Is a Central Tenet to Good Governance. ICMA. https://icma.org/articles/article/japan-local-autonomy-central-tene t-good-governance.
Rhodes, R.A.W. (1981). Control and Power in Central-Local Government Relations. Routledge.