ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้สูงอายุในการสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

สิรีธร อนุพันธ์
พงศธร ตันตระบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานง่ายของอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง ศึกษาผลกระทบของทัศนคติต่อการยอมรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง และศึกษาผลกระทบของการยอมรับการใช้งานต่อการตัดสินใจใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุในภาคอีสาน จำนวน 400 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่เกษียณอายุและมีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่ใช้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง 11-20 ครั้งต่อเดือน และมีประสบการณ์ใช้งานประมาณ 1-2 ปี และใช้ในการโอนเงินเป็นหลัก


            ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการยอมรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงประกอบไปด้วย การรับรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกและทันท่วงทีเป็นสิ่งที่ทันสมัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงประกอบด้วยปัจจัยความสะดวกในการทำธุรกรรมมากยิ่งขึ้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานง่ายของอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงประกอบด้วย ปัจจัยด้านการศึกษาขั้นตอนการใช้งานได้ด้วยตนเองและสามารถใช้งานโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงมีผลต่อการตัดสินใจใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงค์กิงอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยการเลือกใช้อินเทอร์เน็ตแบงค์กิงในการทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง และเห็นว่าเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต. (2564). การบูรณาการทฤษฎีการเเพร่กระจายนวัตกรรมกับการรับรู้ความเสี่ยงเเละทัศนคติเพื่อวัดความตั้งใจในการใช้บริการโมบายเเบงก์กิ้งของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 16(1), 198-222.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know /side/1/1/275.

จักรพงษ์ ลีลาธนาคีรี และธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 8(3), 100-111.

จักรวาล อินทะปัญโญ และพนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโมบายแบงค์กิงแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 50-70 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 83-98.

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ และกัลยา ใจรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. 1968-1977.

ชุติมา เรืองกระโทก. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระเงินผ่านระบบ Internet Banking สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 7-14.

ณัฐชยานันท์ เพ็งเภา. (2561). พฤติกรรมการใช้ Internet Banking ของผู้ใช้บริการ Application “BUALUANG MBANKING” ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐปภัสร์ ดาราพงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). ธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobilebanking. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/ th/home.html.

นัฐพล รักษา. (2561). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สาขาเอ็กเชน ทาวเวอร์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 44-54.

นุชรี จินดาวรรณ. (2559). การทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และมินตรา สดชื่น (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 587-594.

บัญชา หมั่นกิจการ. (2560). แบบจำลองเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-payment) ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัทมา สันเส็น. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการยอมรับในระบบธนาคารออนไลน์ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิลัสนา นาคสงวน (2565). ทัศนคติและปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับสัญญาณ 5G ของผู้ใช้บริการเครือข่ายสื่อสารและอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://ebooks.m-society.go.th/ ebooks/detail/734

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ลาดกระบัง, 1(1), 2-20.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Mathieson, K. (1991). Predicting User Intentions: Comparing the Technology Acceptance Model with the Theory of Planned Behavior. Information Systems Research, 2(3), 173-191.

Montano, D.E., & Kasprzyk, D. (2015). Theory of Reasoned Action, Theory of Planned Behavior and The Integrated Behavioral Model. Health Behavior: Theory, Research and Practice, 95-124.

Rogers, T. (2003). Conferences and Convention: A Global Industry. Italy: Butterworth Heinemann.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2003). Consumer Behavior (8th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Tantrabundit, P., Wongsim, M. & Surinta, O. (2020). Technology Acceptance Model: The Evidence of NodeMCU’s Mushroom House Control System in Thailand. Journal of Accountancy and Management, 12(1), 42-54.

Thurstone, L.L., & Chave, E.J. (1966). The Measurement of Attitude. Chicago: Chicago University.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.