ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด และศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด ที่มีระดับการเรียนที่แตกต่างกัน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน ในเครือข่ายกุดจับจำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบอัตนัย 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การบรรยาย เชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และวิธีการวิเคราะห์งานเขียน (Task Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละด้านของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ในด้านคิดคล่องแคล่ว มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 5.71 (S.D. = 2.432) รองลงมาเป็นด้านคิดละเอียดลออ มีคะแนนความเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 (S.D. = 2.523) ด้านคะแนนคิดยืดหยุ่น มีคะแนนเฉลี่ยกับ 4.71 (S.D. = 1.675) และด้านคิดริเริ่ม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 (S.D. = 2.658) ตามลำดับ และมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยรวม เท่ากับ 19.21 (S.D. = 9.090) 2) คะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีระดับการเรียนคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้านความคิดคล่อง ในระดับดีมากมี 11 คน คิดเป็นร้อยละ 39.29 มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มผลการเรียนระดับดีมาก 8 คน คิดเป็นร้อยละ 28.56 ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้านความคิดยืดหยุ่น ในระดับดีมากมี 7 คน มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มผลการเรียนระดับดีมาก 4 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้านความคิดริเริ่ม ในระดับดีมากมี 7 คน คิดเป็นร้อยละ 25 มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มผลการเรียนระดับดีมาก 5 คน คิดเป็นร้อยละ 17.86 ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้านความคิดละเอียดลออ ในระดับดีมากมี 9 คน คิดเป็นร้อยละ 32.14 มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มผลการเรียนระดับดีมาก 5 คน คิดเป็นร้อยละ 17.86
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลภัสสร ศิริพรรณ (2545). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ด้วยการวิเคราะห์พหุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล วรคํา. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์ แสงศิลป์.
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.
Mackinnon, D. W. (1962). The nature and nurture of creative talent. American Psychologist, 17(7), 484-495.
Rogers, E.M. (1970). Diffusion of Innovations. (3 rd ed). New York: The Free Press.
Torrance, E.P. (1962). Guiding creative talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.