การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังได้รับ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด และ 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 9 แผน 19 ชั่วโมง มีค่าความเหมาะสมในระดับเหมาะสมมากถึงมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.40-4.59 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.36-0.52) 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีความยากอยู่ระหว่าง 0.36-0.74 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.31-0.59 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องงานและพลังงาน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีความยากอยู่ระหว่าง 0.22-0.67 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.67 และมีความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวและ แบบสองกลุ่มไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดมีการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 136-151.
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและครุภัณฑ์.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. เอกสารอัดสำเนา.
กัลยาดา เหง่าบุญมา และจิรดาวรรณ หันตุลา. (2565). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดเรื่องวงจรไฟฟ้าระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2), 90-102.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2560). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). สืบค้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567. จาก http://pirun.ku.ac.th/.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
บุศรา สวนสำราญ. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วัฒนา หงสกุล. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0 Active learning management in Thailand 4.0. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565.จาก https://www.shorturl.asia/o0VUW.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2559). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ และเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุนิสา บางวิเศษ. (2562). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 184-195.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2558). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนและเทคโนโลยี. 43(192), 14-18.
สุภัทธิรา คงนาวัง และนฤมล ภูสิงห์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้วัสดุและสสาร และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(3), 131-147.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mckay.
Bonwell, C.C. (2003). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom (Online.) สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565. จาก www.active-learning-site.com.
Getter, K. L., & Rowe, D. B. (2008). Using Simple Cooperative Learning Techniques in a Plant Propagation Course. NACTA Journal, 52(4), 39.
Lyman, F. (1987). Think-Pair-Share: An Expanding Teaching Technique. Maa-Cie Cooperative News, 1(1), 1-2.
Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objectives. Thousand Oaks, California: Corwin Press.