การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Network Administration of the Community Organizations Development Institute in the Northeast of Thailand.

Main Article Content

สรัญญา จุฑานิล
พลอย สืบวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย ประการที่สอง เพื่อการศึกษา
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานในรูปแบบเครือข่าย และประการที่สาม เพื่อเสนอแนะแนวทางในการทำงานในรูปแบบ เครือข่ายของ
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาใช้ การศึกษาจาก
เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงสำรวจแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
กระบวนการบริหารงานในรูปแบบเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในด้านยุทธศาสตร์ มีการขับเคลื่อนเครือข่ายตามแผนยุทธศาสตร์ และมีกระบวนการบริหารงานที่มีความสอดคล้องกัน ด้านการ ออกแบบ
เครือข่าย มีโครงสร้างการบริหารงานภายในหน่วยงานตามพระราชบัญญัติของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนกำหนด และโครงสร้างการ
ทำงานระหว่างหน่วยงานมีประเภทและรูปแบบเครือข่ายที่คล้ายกัน มีการออกแบบเครือข่ายที่เน้นการทำงานเชิงพื้นที่ เชิงประเด็นงาน
หรือประเด็นกิจกรรม และเชิงโครงสร้าง ด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย ได้ให้ความสำคัญกับการประสาน ความร่วมมือ กับทุกภาคส่วน
ทั้งในระดับนโยบาย หน่วยงานพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุน ให้องค์กร
ชุมชนและท้องถิ่นสามารถเป็นแกนหลักในการทำงานพัฒนา ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ มีการสร้างแรงจูงใจ โดยอาศัยสภาพ ปัญหา
ของแต่ละชุมชนเป็นแรงผลักให้เกิดความต้องการ และตระหนักที่จะรวมตัวเป็นเครือข่าย มีการวัดผลการดำเนินงานโดยวัดตาม
คำรับรองการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อการตรวจ
สอบและพัฒนากระบวนการดำเนินงานต่อไป มีการสร้างความไว้วางใจโดยอาศัยกิจกรรมที่สามารถสร้างให้สมาชิก ในเครือข่ายได้เรียน
รู้ประสบการณ์ร่วมกัน และมีการแบ่งปันความเสี่ยงโดยประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ และหาวิธีจัดการที่เหมาะ
สมในการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ และด้านการปฏิรูปทรัพยากรมนุษย์ มีการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมให้กับเจ้า
หน้าที่ภาครัฐที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของระบบราชการซึ่งมีความไม่
สอดคล้องกัน ในบริบทของการทำงานเป็นเครือข่าย ทำให้เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ระบบการทำงานดังกล่าว ยังเป็นอุปสรรคต่อ
การออกแบบเครือข่ายขององค์กร ทำให้การดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น รวมถึงปัญหาที่เกิดจาก การติดต่อ
สื่อสาร การสื่อความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ความไม่เข้าใจในเรื่องเครือข่ายในหน่วยราชการบางส่วน ปัญหาเกี่ยวกับ ความไว้วางใจระหว่าง
เจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน และปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรในการปฏิบัติงาน ซึ่งยังขาดความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง
รวมถึงจำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การบริหารงานในรูปแบบเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ต้องสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีกลไกในการทำงาน และระบบการบริหารจัด
การที่มีส่วนร่วม เปิดเผย โปร่งใส ลดบทบาทภาครัฐ และสนับสนุนให้องค์กรชุมชนและประชาสังคมเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้องค์กรชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป

The three main objectives of this research were 1) to study the process of network administration, 2)
to analyze the problems of network administration, and 3) to seek useful suggestions for network administration
of the Community Organizations Development Institute in the Northeast of Thailand. The qualitative research
methodology was employed in this study, with documentary research, in-depth interviews and multi-stage
survey research. The research results indicated that the process of public administration accelerated the
network administration based on the strategic plan of the Community Organizations Development Institute
and vision of the organization. The network of internal administrative structure was designed based on the
Act of the Community Organizations Development Institute. The working structure of the organization focused
on work area, work issues/activities and work structure. Regarding network connection, it was found that the
working process focused on public participation of various sections in the community consisting of villagers,
community, government sectors and educational institutes. Regarding the reliability, the motivation was
stimulated by each community’s problems and needs. The work performance was identified by assessing
final work results, while the trust was built through the collaborative working system of the networks, and
improvement of network officers’ working skills.
The study showed that the government administration encountered the problems of bureaucratic
system, which is not in line with the administration network. The administration affected the network structure
design, communication among the organizations, and trust among the officers.
Regarding suggestions, it is concluded that network administration should involve various sectors,
both public and private, in creating a good administrative system that is transparent, and reducing the role
of public sectors. Community organizations should be encouraged to take the key roles in local development.

Article Details

บท
บทความวิจัย