องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนกับการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเปรียบเทียบ องค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน โคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม Local Network Organization with Participation: Case Studies of Kok Hinlard Community Forest and Kok N

Main Article Content

ศรัณย์ เจริญศิริ
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาที่มาและการรวมตัว ระดับและผลของการมีส่วนร่วม และประการที่สอง
เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วม โดยศึกษากรณีองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน
โคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology) ใช้วิธีการศึกษา
จากข้อมูลเอกสาร (Documentary research) และศึกษาจากข้อมูลภาคสนาม (Field research) โดยวิธีการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก
(In-depth interview) และการสังเกตการณ์ (Observation) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
องค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน มีที่มาและการรวมตัวจากแกนผู้ริเริ่ม
การรวมกลุ่ม การได้รับผลกระทบจากนโยบาย/โครงการพัฒนา รวมไปถึงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน และบทบาทสำคัญของ กลุ่มที่นำไป
สู่การรวมตัวที่เป็นรูปธรรม โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรชาวบ้าน อนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด อยู่ในระดับการมีส่วนร่วม ที่แท้จริง
ขณะที่การมีส่วนร่วมของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโนอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมเพียงบางส่วน
ปัจจัยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทั้งสองพื้นที่ โดยทั่วไปมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่องค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชน โคกหิน
ลาดจะมีความชัดเจนในเรื่องตัวผู้นำองค์กร รวมถึงมีการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นระบบ และมีความชัดเจนมากกว่า กลุ่มอนุรักษ์ป่า
ชุมชนโคกหนองโน
ข้อเสนอแนะ ควรเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ทั้งเพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาศักยภาพ ในด้าน
อื่นๆ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดรูปแบบการทำงาน โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์
ต่อการจัดทำแผนกิจกรรม การสนับสนุนช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก และการเชื่อมโยงกับ องค์การเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆ

Three main objectives of the research were 1) to study the development of local network organization
of Kok Hinlard community forest and Kok Nong No Community Forest, Maha Sarakham Province, 2) to assess
the level and results of network participation in the two community forests, and 3) to work on a comparative
study of the factors influencing network participation in the community forests. The qualitative research methodology was employed for the study with documentary research, field research through in-depth interview
and observation.
The research results showed that the establishment of the local network organization of Kok Hinlard
Community Forest and Kok Nong No Community Forest, Maha Sarakham Province was caused by the
government policy and local development projects, and the network organization was set up by key members
of village conservation organization and community forest conservation groups who shared common goals
for community forests. The network organization focused on full public participation in Kok Hinlard and Kok
Nong No Community Forest. It was found that there was real participation in conservation of Koke Hinlard
whereas Nong No Community Forest partly offered public participation to its members.
Factors influencing the network participation in two community forests were quite similar. However, the
administration of Kok Hinlard Community Forest was clearer than that of Kok Nong No Community Forest
because Kok Hinlard Community Forest obviously had the key leader of the organization with clearer systematic
management than that of Kok Nong No.
Regarding suggestions, it is concluded that involvement of community members should be emphasized
in solving the problems and other aspects of community development. A working system with clear structure,
responsibility and organizational management should be set up to ensure effective planning of activities,
acquiring support from external organizations, and connection with other public network organizations.

Article Details

บท
บทความวิจัย