การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติที่มีต่อประชาคมอาเซียน ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills กับการเรียนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills เรื่องประชาคมอาเซียน ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 ประการที่สอง ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills ที่พัฒนาขึ้น
ประการทีส่ าม เปรียบเทียบผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแกป้ ญั หากอ่ นเรียนและหลงั เรียนของนักเรียนที่เรียนดว้ ย
บทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills ประการที่สี่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน
ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills และเรียนแบบปกติ และประการที่ห้า เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อประชาคมอาเซียนก่อน
เรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills เรื่องประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills เรื่องประชาคมอาเซียน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากตั้งแต่
0.23 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 3) แบบวัดความสามารถในการ
แก้ปัญหามีค่าความยากตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.23 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76
และ 4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อประชาคมอาเซียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent
samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills เรื่องประชาคมอาเซียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.17/88.33
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness index : E.I.) บทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills มีค่าเท่ากับ 0.6946 แสดงว่า นักเรียน
มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ร้อยละ 69.46
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาหลัง
เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่า
นักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big six skills มีเจตคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were: firstly, to develop Web-Based instruction on Big Six Skills Approach
with a required efficiency of 85/85; secondly, to determine the effectiveness index of the Web-Based instruction;
thirdly, to compare learning achievement and problem-solving ability before and after learning by using the
Web-Based instruction; fourthly, to compare learning achievement and problem-solving ability before and after
learning by using the Web-Based instruction and traditional instruction; and finally, to study the attitude towards
the ASEAN Community before and after learning by using Web-Based instruction. The subjects used in the
research consisted of 60 grade 7th students, selected through cluster random sampling technique. The instruments
used in the research were: 1) Web-Based instruction on Big Six Skills approach, 2) an achievement test which
had a difficulty level between 0.23-0.80, a rank of discriminating at 0.20-1.00, with 0.98 of reliability, 3) a test
of problem-solving ability which had a difficulty level between 0.23-0.80, a rank of discriminating at 0.23-1.00,
and with 0.76 of reliability, and 4) an attitudes questionnaire towards the ASEAN Community which had a rank
of discriminating at 0.35-0.82, and with 0.91of reliability. The statistics used for analyzing data were percentage,
mean, standard deviation. And t-test (dependent samples) was also employed for hypothesis testing.
The results of the research were as follows:
1. The developed Web-Based instruction on Big Six Skills approach entitled “ASEAN Community”
had an efficiency of 86.17/88.33 which was met the established requirement.
2. The effectiveness index of the Web-Based instruction was 0.6946. This described that the students
had progressive learning at 69.46 percent.
3. The students who learned how to use the Web-Based instruction showed that the achievement
learning and problem–solving ability after learning was significant at the .05 level.
4. The students who learned using the Web-Based instruction were rated significantly higher than
those who learned by using traditional instruction at .05 level.
5. The students’ attitude towards the Web-Based instruction on “ASEAN Community” was significant
at the .05 level.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา