การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมบทเรียน แบบผสมผสาน กับการเรียนแบบปกติ เรื่อง ข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 A Comparison on Learning Achievement and Analytical Thinking by Using the Blended Courseware Program

Main Article Content

ศศิประภา มังขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
ประการที่สอง หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประการที่สาม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนและ การคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ประการที่สี่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ระหว่าง
นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานกับการเรียนแบบปกติ ประการที่ห้า ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับ
การจัดการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน และประการที่หก ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 2 ของโรงเรียนบ้านโนนทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา
เขต 5 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนบ้านโคกกระบือ จำนวน 23 คน เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบ
กลุ่ม (Cluster random sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียนแบบ
ผสมผสาน เรื่องข้อมูลและคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 2 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน
20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน เท่ากับ 84.40 / 84.20 คะแนนเฉลี่ยจากการเรียนด้วยโปรแกรม
บทเรียนแบบผสมผสานมีคะแนนพัฒนาการระหว่างเรียนเท่ากับ 84.40 และคะแนนจากการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 84.20
2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน มีค่าเท่ากับ 0.6992 นักเรียนมีความก้าวหน้าใน การเรียน
คิดเป็นร้อยละ 69.92
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสม
ผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนที่
เรียนด้วยการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี
6. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน มีคะแนนความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนและ หลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน

This research aimed: firstly, to develop blended courseware program with required efficiency of 80/80;
secondly, to find out an effectiveness index of the developed courseware; thirdly, to compare learning achievement
and analytical thinking ability of the students before and after learning; thirdly, to compare learning achievement
and analytical thinking ability of the students who had learned using the blended courseware program and
traditional instruction; fifthly, to study students’ satisfaction by using the blended courseware program; and
finally, to study knowledge retention. The samples were 25 grade 2nd students from Ban Non Tong School
selected to be the treatment group and 23 students from Ban Kok Krabue to be the control group, selected
through Cluster Random Sampling. The instruments were: 1) 2 learning units of blended courseware program
on ‘Data and Computer’, 2) 2 lesson plans, 3) a 20-item achievement test, 4) a 20-item analytical thinking ability
test, and 5) a 20-item students’ satisfaction questionnaire. The statistics used for analyzing data were mean,
standard deviation and also t-test (Dependent samples) for hypothesis testing.
The results of the study were as follows:
1. The efficiency of the blended courseware program was 84.40/84.20. The mean scores of the program
while learning was at 84.40 percent and the score after learning was at 84.20 percent.
2. The effectiveness index was 0.6992. This described that the students had progressive learning at
the 69.92 %
3. The comparison on learning achievement and analytical thinking ability before and after learning was
higher statistical significance at .05 level.
4. The students who had learned by blended courseware program were higher statistical significance
than traditional instruction at .05 level.
5. The students’ satisfaction towards the blended courseware program was rated at a high level.
6. The knowledge retention of students who had learned by using blended courseware program after the two weeks was not different significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย