การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย Leadership Development of Basic Education School Administrators in Nong Khai Province

Main Article Content

ไชยเรศ บัวใหญ่รักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย ประการที่สอง เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน และประการที่สาม เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการพัฒนา
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้น (Multiple linear regression) วิเคราะห์ตัวแปรตัวแปรที่มี
อิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดหนองคาย สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่
การวิเคราะห์สมการเชิงเส้นทาง โดยใช้โปรแกรม LISREL ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประชุมกลุ่ม (Focus group) ระดมความคิด (Brain storming)
สรุปอภิปรายผล ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยนำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ไปทดลองใช้กับโรงเรียน จำนวน 5 โรง เปรียบเทียบคะแนน
ประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อนและหลังการทดลองตามแบบประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ทำการทดสอบ
ข้อมูลด้วย วิลค็อกซัน (The Wilcoxon matched paris signed-rank test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจงหวัดหนองคาย โดยเรียง
ลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ปัจจัยด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (IS) ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดย
รวม เท่ากับ 0.48 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (IM) ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.29 ปัจจัยด้านการมี
อิทธิพลอย่างอุดมการณ์ (II) ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.19 และปัจจัยด้านการกระตุ้นทางปัญญา (IC) ค่าสัมประสิทธิ์
อิทธิพลโดยรวม เทา่ กับ -.07 ซึ่งปจั จัยดังกลา่ วมีผลตอ่ ภาวะผนู้ ำของผบู้ ริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดหนองคาย
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายการผันแปรในตัวแปรผลลัพธ์ได้ร้อยละ 68 (R2=0.68) ตามการทดสอบ
สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการเชิงเส้นทางโดยใช้โปรแกรม LISREL และสหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson correlation) 2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดหนองคาย ได้จัด
กิจกรรมการพัฒนา 8 กิจกรรม คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มี 1 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work shop)
ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มี 2 กิจกรรม ได้แก่ การระดมความคิด (Brain storming) และ การศึกษาดูงาน (Field study)
ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มี 1 กิจกรรม ได้แก่ การสนทนาวงกลม (Talking circle) ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล มี 4 กิจกรรม
ได้แก่ การเรียนทางอิเลคทรอนิคส์ (e-Learning) กิจกรรมพัฒนาจิต (Mind development activity)
การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (IDP) และ การสอนงาน (Coaching)
3. ผลการประเมิน ได้ทำการทดลองกับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 โรงเรียน โดยเปรียบเทียบผลการประเมินระดับภาวะ
ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน
จังหวัดหนองคาย โดยใช้การทดสอบวิลค๊อกซัน (The Wilcoxon matched paris signed-rank test) พบว่ามีค่า Significant
ที่ระดับ .022 แสดงว่าคะแนนประเมินก่อนและหลังการทดลองตามรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดหนองคาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนการประเมินระดับภาวะผู้นำหลัง
ทดลองสูงกว่าคะแนนการประเมินก่อนการทดลอง ซึ่งหมายความว่า ผลการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มทดลอง
มีระดับภาวะผู้นำสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าหลังจากที่ผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 5 โรงเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองได้นำรูป
แบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดหนองคายไปทดลองใช้แล้ว ทำให้ผลของระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสูงขึ้น

The purposes of this research were to 1) analyze the factors influencing on the leadership of basic
education school administrators in Nongkhai Province, 2) to design a model of the leadership development
for the school administrators, and 3) to implement and evaluate the model. The research methodology
consisted of three steps. 1) This step focused on analyzing factors influencing on the leadership of basic
education school administrators. The samples were one hundred and sixty five basic education school directors
in the Office of the Basic Education Commission, Nong Khai Province. The instrument was a questionnaire.
The statistics used were percentage, mean, standard deviation and multiple linear regression including
LISREL. 2) The step focused on designing a model of the leadership development for basic education school
administrators. The model was assessed by five experts through focus group and brainstorming methods,
conclusion and discussion. 3) The step was to try a model out with five basic school administrators and
evaluate the model by comparing the pretest score with posttest score for the leadership development of the
school administrators. Wilcoxon Matched Paris Signed-Rank Test was employed for the assessment of the
leadership.
Results of the research were as follows:
1. The finding showed that the factors influencing on the leadership development of the school
administrators were Intellectual Stimulation (IS=0.48), Inspiration Motivation (IM=0.29), Idealized Influence
(II=0.19), and Individualized Consideration (IC=-0.07). These factors significantly influenced on the leadership
development of the school administrators at the .05 level. The variance of variables regarding the analysis of LISREL and Pearson Correlation was 68%.
2. The model of leadership development for the school administrators consisted of eight activities:
an ideal activity such as workshop, two inspiration creating activities such as brain storming or field study,
an intelligence stimulation activity such as talking circle, four individual activities such as e-learning, mind
development activity, individual development plan and coaching.
3. The finding showed that the posttest score and the pretest score for the leadership development
of the administrators assessed by Wilcoxon Matched Paris Signed-Rank Test was significantly different at the
.05 level . The leadership of school administrators has been improved after the training. The results indicate
that the leadership development model is efficient and practical for the application to other school administrators
in Nong Khai province.

Article Details

บท
บทความวิจัย