การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านถิ่นสุขาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 Classroom Action Research Development for Teachers in Ban Thinsukhawitaya School under Office of Udorn Thani Primary Education Service Area 1

Main Article Content

สุริยา จันทะปัสสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการการวิจัยในชั้นเรียน ประการที่สอง เพื่อพัฒนาครูด้าน
การทำวิจัยในชั้นเรียน และประการที่สาม เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านถิ่นสุขาวิทยา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย ข้าราชการครูที่สอนประจำชั้น อนุบาล
1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนชั้น อนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน
113 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ
และการนิเทศภายใน โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการ
ประชุมกลุ่มย่อย แบบทดสอบ แบบประเมินการอบรม แบบสังเกต แบบประเมิน แบบนิเทศภายใน แบบบันทึกการประชุม วิเคราะห์
ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัญหาครูขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และไม่รู้ขั้นตอนในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ถูกต้องจึงทำให้ไม่มีความมั่นใจใน
การทำวิจัยในชั้นเรียนและขาดการนิเทศภายในสำหรับผลการพัฒนาทำให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจมีความกระตือรือร้นสามารถวิจัยใน
ชั้นเรียนได้อย่างถูกต้อง การนิเทศภายในทำให้ครูมีความรับผิดชอบ ตั้งใจและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ และผลการ
การประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนพบว่าครู สามารถทำวิจัยชั้นเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

The research aimed to explore the condition of classroom action research works, to develop teachers
in conducting classroom action research, and to assess results of classroom action research development for
the teachers in Ban Thinsukhawitaya School under Office of Udorn Thani Primary Education Service Area 1.
The target population consisted of the author, six teachers of kindergarten 1 to grade 6. The informants consisted
of one hundred and thirteen students of kindergarten 1 to grade 6, 1 school director, and three experts. The
development strategies included workshop and internal supervision based on the principles of participatory
action research. The instruments for data collection were composed of a meeting minutes recording form, a test, three sets of an assessment form, and an observation form.
The research findings revealed that most of the teachers did not know well about the steps of classroom
action research and they were not skillful in conducting classroom action research. The problems affected
their self-confidence in conducting classroom action research. In addition, there was not an internal supervision
system for teacher development of classroom action research. In terms of the results of the teacher development,
the teachers gained more knowledge and understanding on classroom action research. They became more
enthusiatic in conducting classroom action research and were able to conduct the research correctly and
properly. The internal supervision enhanced them to have more responsibilities and more attention to conducting
efficient classroom action research. The evaluation of classroom action research reports revealed that the
teachers were able to conduct classroom action research correctly and appropriately.

Article Details

บท
บทความวิจัย