การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 The Development of Quality Indicators for Learning Enthusiasm of 6th Grade Students

Main Article Content

ดวงฤทัย ราวะรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ประที่การสอง เพื่อหาคุณภาพของตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ และประการที่สาม ศึกษาระดับคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 358 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย คือแบบวัดคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรง อำนาจจำแนกและความเชื่อมั่น ผลการวิจัยพบว่า
1.ตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 7 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย 37 ตัวบ่งชี้ได้แก่ ด้านมีความอยากรู้อยากเห็น 5 ตัวบ่งชี้ ด้านมีความตั้งใจอย่างมีสติ 5 ตัวบ่งชี้ ด้านมีนิสัยรักการอ่าน 8 ตัวบ่งชี้ ด้านชอบ
ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 6 ตัวบ่งชี้ ด้านมีนิสัยชอบจดบันทึก 5 ตัวบ่งชี้ ด้านมีเหตุผล 4 ตัวบ่งชี้ และด้านเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น 4 ตัวบ่งชี้
2. ตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดย โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง
ประจักษ์ดี (x2= 537.51, df = 580, p-Value = 0.89611, x2/df = 0.927, GFI = 0.93 AGFI = 0.92, CFI = 1.00, RMSEA
= 0.000, SRMR = 0.029) นํ้าหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 37 ตัว มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.86 ถึง 0.91 เรียงลำดับความ
สำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านมีนิสัยรักการอ่าน ด้านมีความอยากรู้อยากเห็น ด้านมีความตั้งใจอย่างมีสติ ด้านเข้าร่วมกิจกรรม
ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น ด้านชอบค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ด้านมีนิสัยชอบจดบันทึก ด้านมีเหตุผล ตามลำดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่
ระหว่าง .221 ถึง .782 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .935
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 มีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

This research aimed to develop quality indicators for learning enthusiasm of 6th grade students, to assess
the efficiency of the indicators and to identify the qualities of learning enthusiasm of 6th grade students under
Office of Kalasin Primary Education Service Area 1. The samples were three hundred and fifty eight students
in the second semester of academic year 2012, which selected by the multistage random sampling technique.
The research instrument was a quality self-assessment form. The quality of the instrument was assessed by
identifying the validity, discrimination, and reliability.
The research findings were as follows :
1. The qualities of learning enthusiasm of 6th grade students were composed of seven key factors,
thirteen sub-factors, and thirty seven indicators : five indicators for curiosity, five indicators for conscious
intention , 8eight indicators for reading habit, six indicators for self- study, five indicators for note-taking habit,
four indicators for reason, and four indicators for participation in school activities.
2. The content validity (IOC) of the quality indicators was identified by the Index of Congruence
(0.60 to 1.00), discrimination indices (.221 to .782), and reliability index (.935). The model of quality indicators
was confirmed by the empirical data: x2= 537.51, x2/df = 0.927, GFI = 0.93, AGFI = 0.92, CFI = 1.00, RMSEA
= 0.000, and SRMR = 0.029. All thirty seven indicators were positive (0.86 to 0.91) and these factors were reading habit, curiosity, conscious intention, participation in school activities, self- study, note-taking habit,
and reason.3. The finding showed that the quality of learning enthusiasm of 6th grade students under Office of Kalasin Primary Education Service Area 1 was in a moderate level.

Article Details

บท
บทความวิจัย