การศึกษาความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษา อาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ A Study of Number Sense Abilities of First-year Vocational Education Certificate Students of Vocational Schools Colleges in K
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และประการที่สอง เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนกับความสามารถด้านการคิดคำนวณ ของนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ นักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 313 คน ได้มา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน และแบบวัดความสามารถด้านการคิดคำนวณ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์ อย่างง่ายเพียร์สัน
(Pearson correlation) ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมของนักเรียนที่มีความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนครบทุกองค์ประกอบ ร้อยละ 69.00 และเมื่อแยกความ
สามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบที่นักเรียนมีความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนมากที่สุด คือ
องค์ประกอบที่ 6 ความสามารถในการคิดคำนวณในใจได้อย่างยืดหยุ่น ร้อยละ 98.08 และองค์ประกอบที่นักเรียนมีความสามารถ
ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนตํ่าที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 1 ความเข้าใจจำนวนทั้งจำนวนเชิงการนับและจำนวนเชิงอันดับที่ ร้อยละ 82.75
ซึ่งเมื่อคิดระดับความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนอยู่ในระดับ ตํ่า ร้อยละ 69.80 ( = 3.49, S.D. = 0.48)
2. ความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถด้านการคิดคำนวณอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01
วิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และประการที่สอง เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนกับความสามารถด้านการคิดคำนวณ ของนักเรียนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ นักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 313 คน ได้มา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน และแบบวัดความสามารถด้านการคิดคำนวณ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์ อย่างง่ายเพียร์สัน
(Pearson correlation) ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมของนักเรียนที่มีความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนครบทุกองค์ประกอบ ร้อยละ 69.00 และเมื่อแยกความ
สามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบที่นักเรียนมีความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนมากที่สุด คือ
องค์ประกอบที่ 6 ความสามารถในการคิดคำนวณในใจได้อย่างยืดหยุ่น ร้อยละ 98.08 และองค์ประกอบที่นักเรียนมีความสามารถ
ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนตํ่าที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 1 ความเข้าใจจำนวนทั้งจำนวนเชิงการนับและจำนวนเชิงอันดับที่ ร้อยละ 82.75
ซึ่งเมื่อคิดระดับความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวนอยู่ในระดับ ตํ่า ร้อยละ 69.80 ( = 3.49, S.D. = 0.48)
2. ความสามารถด้านความรู้สึกเชิงจำนวน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถด้านการคิดคำนวณอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01
Article Details
บท
บทความวิจัย
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา