การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ใช้เทคนิคการรู้คิด ที่มีต่อ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา และทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน A Compa

Main Article Content

พรทิพย์ ภัทราภิรักษ์ Porntip Pattarapirak

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้เทคนิคการรู้คิด ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบผลของ
การเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดการเลือกเกี่ยวกับ มโนมติชีววิทยา ประกอบด้วย
การเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง และความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ และประการที่สาม เพื่อศึกษา
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า
การใช้เทคนิคการรู้คิดทำให้ผลการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มที่มีความเข้าใจเพียงบางส่วน กลุ่มแนว
ความคิดที่ผิดพลาดลดลงจากก่อนเรียน และกลุ่มไม่มีแนวความคิดที่ผิดพลาดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านเพิ่มขึ้นจากก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงมีทักษะเฉพาะในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐานหลังเรียน 4 ด้าน คือ ทักษะการสังเกต การวัด การจัดกระทำ การสื่อความหมายข้อมูล และการพยากรณ์มากกว่า
นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research aimed at analyzing and comparing the learning achievement of the 5th grade pupils
with different science learning achievement in alternative conceptual changes of biology concepts and
basic science process skills.
The major findings revealed that the learning achievement of three experimental groups; partial
understanding of the content, less cognitive errors before learning and non cognitive errors using
metacognitive technique was significantly different at the.05 level. The average level of basic science
process skills of the pupils after using the 7 – step learning cycle model was significantly higher than before
using the learning cycle model at the.05 level. The average level of the scientific skills of the pupils with
the high science achievement in observation, measurement, management, communication and prediction
was significantly higher than the pupils with low science achievement at the.05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย