การวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ ของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่สอง มหาวิทยาลัยนเรศวร Error Analysis : The Investigation of Second-Year English Major Students’ Paragraph Writing at Naresuan University

Main Article Content

พรรณรมล สุทธิฤทธิ์ Punramol Sutthrit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ กล่าว คือ ประการแรก เพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ
ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่สอง วิชาเอกภาษาอังกฤษ ประการที่สอง เพื่อตรวจสอบว่าข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการเขียนย่อหน้า
ของนิสิตนั้นอยู่ในระดับใด โดยใช้การแบ่งระดับข้อข้อบกพร่องของคาร์ล เจมส์ เป็นเครื่องมือในการศึกษา และประการที่สาม เพื่อบ่ง
ชี้ถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของข้ข้อบกพร่องในงานเขียนของนิสิต ประชากร คือ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่สอง วิชาเอกภาษาอังกฤษ
จำนวน 29 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษเครื่องมือที่ใช้ คือ งานเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษในรูปแบบ
การเขียนแบบบรรยายในหัวข้อ การเดินทางที่น่าจดจำของฉัน (My memorable trip/Journey) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นแรกของนิสิตใน
การเรียนรายวิชาดังกล่าว โดยใช้รูปแบบในการวิเคราะห์การแบ่งระดับข้อบกพร่องของคาร์ล เจมส์ จำนวน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคำ
ระดับประโยค และระดับย่อหน้า ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)ผลการวิจัยพบว่า มีข้อบกพร่องเกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 725
ครั้ง โดยข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือข้อบกพร่องด้านไวยากรณ์ ซึ่งประกอบด้วยข้อบกพร่องทางด้านรูปแบบและโครงสร้างของ
คำ และข้อบกพร่องด้านการจัดเรียงลำดับและความสัมพันธ์ของคำต่าง ๆ ในวลีและประโยคหรือโครงสร้างของประโยค โดยสาเหตุของ
ข้อบกพร่องเกิดจากอิทธิพลของภาษาที่หนึ่งและความสามารถที่ไม่เพียงพอในภาษาที่สอง

This study aimed (1) to examine types of errors in paragraph writing of second-year English major
students at Naresuan University, (2) to find out which levels of error are mostly found in students’ paragraph
writing by using Carl James (1998) levels of error model, and (3) to identify the plausible explanation for the
errors. The populations of the study were 29 second-year English major students who enrolled in Paragraph
Writing. The instrument used for collecting data was the student’s narrative paragraph written in English in
the topic of My Memorable Trip/Journey. The statistics used was percentage. The results showed that the
most frequent error found in student’s paragraph fall into grammar errors which separated into two types;
morphological errors and syntax errors.The present study indicates that interference from L1 and inadequate
competent of L2 are the main causes of errors.

Article Details

บท
บทความวิจัย