การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจของสินค้าที่ระลึกอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านแนวคิดบรรษัทภิบาลในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ A Practical Research in Order to add the Economic Value of Souvenir Produced from the local Wi

Main Article Content

ปรีชา ปาโนรัมย์ Preecha Panoram

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและคัดเลือกสินค้าที่ระลึกอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นประจำในแต่ละอำเภอ กลยุทธ์
การตั้งราคา อุปสงค์ต่อสินค้า การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ การเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ และความเป็นไปได้ในการเพิ่มศักยภาพ
ด้านเศรษฐกิจและการสร้างพันธมิตรเครือข่ายของสินค้าการท่องเที่ยวประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านแนวคิด
บรรษัทภิบาล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวนสินค้าที่ระลึก เจาะจง เพียง 23 ชิ้น กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตสินค้าที่ระลึก
เจาะจงเพียง 23 คน กลุ่มที่ 3 นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการ
วิจัยพบว่า อุปสงค์ที่มีต่อสินค้าที่ระลึกอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมประจำในแต่ละอำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์ โดย
ภาพรวม พบว่า จัดอยู่ในระดับ มาก อยู่ที่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ นอกนั้นจัดอยู่ในระดับ ปานกลาง ถึงระดับน้อย สำหรับสินค้าที่คน
ส่วนใหญ่คาดหวังว่าน่าจะเป็นอัตลักษณ์ประจำในแต่ละอำเภอ สรุปได้คือ อำเภอเมือง ได้แก่ กุนเชียงบุรีรัมย์ อำเภอคูเมือง
ได้แก่ เป็ดทอดคูเมือง อำเภอกระสัง ได้แก่ ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น อำเภอนางรอง ได้แก่ ขาหมูนางรอง อำเภอหนองกี่ ได้แก่
ข้าวมะลิแดง อำเภอละหานทราย ได้แก่ สุราขาวกลั่นชุมชน 40 ดีกรี อำเภอประโคนชัย ได้แก่ กุ้งจ่อมประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด
ได้แก่ กระยาสารททิพย์รวยทอง อำเภอพุทไธสง ได้แก่ ผ้าไหมพุทไธสง อำเภอลำปลายมาศ ได้แก่ แคนตาลูป อำเภอ สตึก ได้แก่
กล่องทิชชู่ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา อำเภอปะคำ คือ แกะสลักหินทราย อำเภอนาโพธิ์ ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่นาโพธิ์ อำเภอหนองหงส์
ได้แก่ ชุดติดกัน (เส้นใยประดิษฐ์) พลับพลาชัย ได้แก่ นํ้าปลาตราข้าวหอมมะลิแดง อำเภอห้วยราช ได้แก่ ผ้าไหมหางกระรอก อำเภอ
โนนสุวรรณ ได้แก่ กล้วยเบรคแตก อำเภอชำนิ ได้แก่ กระยาสารท อำเภอบ้านใหม่ชัยพจน์ ได้แก่ แคปหมูไร้มัน อำเภอโนนดินแดง
ได้แก่ แจกันจากไม้มะม่วง อำเภอบ้านด่าน ได้แก่ เครื่องประดับหินสี อำเภอแคนดง ได้แก่ ไก่ย่างแคนดง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ได้แก่ กล้วยฉาบพนมรุ้ง สำหรับกลยุทธ์การตั้งราคาส่วนใหญ่จะใช้กลยุทธ์ราคาเชิงจิตวิทยา มากที่สุด ส่วนช่องทางการตลาดนั้น
ส่วนมากใช้การจำหน่ายสินค้าด้วยตนเอง สำหรับการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์นั้น ควรมีการปรับลดต้นทุนและกระบวนการผลิตที่
ไมจ่ ำเปน็ ลง และความเปน็ ไปไดที้จ่ ะเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจคือการดำเนินธรุ กจิ ตอ้ งประกอบไปดว้ ยกิจกรรม 3 มติ ขิ องหลักบรรษทั
ภิบาล ส่วนการสร้างพันธมิตรเครือข่ายคือควรมีการรวมตัวกันระหว่างผู้ผลิตสินค้าที่ระลึก

The objectives of this research were to study and select the souvenir product occurred from the local
wisdom in each district, the pricing strategy, the demand of souvenir product, the economic-added value,
the marketing opportunity and the possibility for adding the economic efficiency and making of souvenir
network in Buriram. The examples used this research were the 400 persons of tourists visited various tourism
attraction in Buriram used by the accidental Sampling. The statistic used in this research was the percentage,
Mean and standard deviation. The results were found that the demand toward the souvenir products produced
from the local wisdom, arts and culture in each district of Buriram was totally found that at the Chalermprakiet
the tourists demanded the souvenir products in more level, other district in the middle and lest level. The most
tourists specified that the following products should be the image in each district as the Muang district was
the Buriram sausage, , the Kumuang district was the fried duck of Kumuang, the krasang district was the
flower made from Japan soil, the Nangrong district was the Nangrong pork leg, the Nongki district was the
red mali rice, the Lahansai was the 40 degree white alcohol, the Prakonchai was the Prakonchai’s pickled
crustacean, the Putthaisong district was the silk of Putthaisong, the Lamplaimat district was the cantaloupe,
the Satuk district was the tissue box, the Pakam district was the sandstone carving, the Napor district was
the Napor’s silk, the Nonghong district was the inventive fiber, the Huairat district was the squirrel tail silk,
the Huairat silk bag, the Nonsuwan district was the Brocken-break banana, the Chamni district was the Thai
sweet made of rice, the Banmaichaiyapot was the non-oil pig, the Nondindang district was the flowerpot made
from the mango, the Bandan district was the color stone decoration, the Candong district was the Candong’s
roasting chicken, the Candong’s reed mat and the Chalermprakiet district was the Phanomrung dried banana,
grass flower broom, the Phanomrung sausage, the product from the reed and sandstone arts. For the pricing
strategies the most producers used the psychological pricing strategy, the marketing strategy by selling the
products by themselves. For the added value of economics it should reduce the non-necessary cost and the
production process and for the possibility of economic efficiency addition it should make three activities
according to the corporate governance opinion. For making the network of production it should make the
Centre of the souvenir producers.

Article Details

บท
บทความวิจัย