การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม Product development to enhance the competitiveness of community enterprises in Maha Sarakham
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถ
ในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ แก้ปัญหา
และพัฒนาความรู้ความสามารถของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด
มหาสารคาม จำนวน 490 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ สมการเชิงโครงสร้าง (Structural
equation model) ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ
0.97 ซึ่งตัวแปรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถอธิบายได้ดังนี้ ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล
มาตรฐาน เท่ากับ 0.74) รองลงมา คือ การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชน (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ
0.71) การสร้างความสมดุลของการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติ (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.70) และด้านปัจจัยการผลิต
(ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.63) ตามลำดับ ตัวแปรกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสามารถอธิบายได้ดังนี้
ตัวแปรมีอิทธิพลเท่ากัน คือ กลยุทธ์การตลาดต้นทุนตํ่า (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.76) และกลยุทธ์การมุ่งความสนใจ
(ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.76) โดยกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างไม่มีผลต่อกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขัน ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคามควรให้ความสนใจ
ต่อด้านผลิตภัณฑ์ การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับกลุ่มผู้ผลิต การสร้างความสมดุลของการผลิตกับทรัพยากรธรรมชาติ และด้าน
ปัจจัยการผลิต โดยใช้กลยุทธ์การตลาดต้นทุนตํ่า และกลยุทธ์การมุ่งความสนใจ เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคามได้มากขึ้น ตามแบบจำลอง DCS Framework
In this dissertation, aim to study the patterns conditions and needs of product’s pattern development
to increase the competitiveness of community enterprises in Maha Sarakham and to determine guidelines on
the development of products, solve the problem and increase the community enterprises competencies. The
data was collected from a community of 490 persons in Maha Sarakham and questionnaires are used. The
statistics used in this research include Structural Equation Model.
The results indicates that the relationship and the influence of variables on product development to
enhance the competitiveness of community enterprises is Standard influence coefficient of 0.97, which is
a variant of product development can be explained as follows, the variables with the highest influence is the
product. (Standard influence coefficient was 0.74), followed by the creation and development of knowledge
to the community enterprises. (Standard influence coefficient 0.71), the balance of the production of natural
resources. (Standard influence coefficient of 0.70), and the factor of production. (Standard influence coefficient
0.63), respectively. A variant of strategies to enhance the competitiveness can be explained as follows,
the variables influencing equally is low-cost marketing strategies. (Standard influence coefficient was 0.76)
and focus strategic. (Standard influence coefficient 0.76). Thus, the development of products to enhance the
competitiveness of community enterprises in Maha Sarakham should pay attention to the product, the creation
and development of knowledge to the group, the balance of production and natural resources and the factor
of production by using low-cost marketing strategies and focus strategic to be able to develop products to
enhance the competitiveness of community enterprises in Maha Sarakham follow by model-based
DCS Framework.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา